ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรียประชาชนกลุ่มเสี่ยง บ้านช่องมะเฟือง หมู่ 12 ตำบลหนองรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
โรคไข้มาลาเรีย, ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมบทคัดย่อ
โรคไข้มาลาเรีย ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทย เพราะพบการแพร่เชื้อของโรคในหลายพื้นที่ และกลับพบว่ามีการกลับมาแพร่เชื้อใหม่ในพื้นที่ปลอดการแพร่เชื้อโรคไข้มาลาเรีย ทั้งนี้ พื้นที่หลายแห่งไม่เคยพบผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียมากว่า 20 ปี การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Study) นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติกับพฤติกรรมป้องกันโรคไข้มาลาเรียของประชาชน บ้านช่องมะเฟือง หมู่ 12 ตำบลหนองรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยทำการศึกษาระหว่างเดือน มกราคม - กรกฎาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 205 คน คัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกประชากรทุกคนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และอาศัยอยู่ในพื้นที่รัศมีห่างจากบ้านผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย ระยะ 2 กิโลเมตร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 42.44 คะแนนเฉลี่ย 10.89 คะแนน (S.D. = 2.67) ทัศนคติ อยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 58.05 คะแนนเฉลี่ย 38.46 คะแนน (S.D. = 4.86) และพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย อยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 54.15 คะแนนเฉลี่ย 24.25 คะแนน (S.D. = 6.07) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย พบว่า ระดับการศึกษา อาชีพ การใช้มุ้ง และความรู้เกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรีย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ส่วน เพศ อายุ ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย และทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันตนเองโรคไข้มาลาเรีย พบว่า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้มาลาเรียอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value > 0.05) ดังนั้น จึงควรสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) สร้างความตระหนักถึงอันตรายโรคไข้มาลาเรียแก่ประชาชน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรีย ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
References
รุ่งระวี ทิพย์มนตรี, นารถลดา ขันธิกุล. ความรู้เรื่องไข้มาลาเรียสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การกำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย พ.ศ.2560-2569. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคไข้มาลาเรีย [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://malaria.ddc.moph.go.th/malariaR10/ index_ newversion.php
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการปฏิบัติงานกำจัดโรคไข้มาลาเรียสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.
กันยารัตน์ เหล่าเสถียรกิจ, วัณชัย เหล่าเสถียรกิจ, พุทธิไกร ประมวล, รัตภรณ์ วรเลิศ. ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้มาลาเรียของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในเขตเทือกเขาพนมดงรัก จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 2563;18(1):83-96.
อดุลย์ เจือจันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้มาลาเรียของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติปางสีดา อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. ชลบุรี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี; 2562.
สมหมาย งึมประโคน, จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์, สมศักดิ์ ศรีภักดี. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันโรคไข้มาลาเรียโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559;23(1):35-45.
สุจารี ดำศรี, กันญารัตน์ หนูชุม, สุรพล เนาวรัตน์. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้มาลาเรียของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี [อินเทอร์เน็ต]. (ม.ป.ป.). [เข้าถึงเมื่อ 7 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/402876/58faf65b9fcb6ee0f569fc9853c5b7a0?Resolve_DOI=10.14457/SRU.res.2014.5
จิรพัทธ์ ธนบัตร, ศรีงามลักษณ์ คำทอง, บุญสนอง ช่วยแก้ว. พฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคไข้มาลาเรียของประชาชน ในตำบล จ.ป.ร. อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง. ใน: สำนักบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บรรณาธิการ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมชุมชนท้องถิ่นฐานรากการพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. การประชุมวิชาการการพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ประจำปี 2555 “ชุมชนท้องถิ่น ฐานรากการพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”; 16-19 กุมภาพันธ์ 2555; ขอนแก่น. ขอนแก่น: สำนักบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555. หน้า 788-91.
Menjetta T. Assessment of Knowledge, Attitude, and Practice towards Prevention and Control of Malaria in Halaba Town, Southern Ethiopia. J Trop Med [Internet]. 2017 [cited 2021 Aug 31]; 2021: 1-5. Available from: https://www.hindawi.com/journals/jtm/2021/5665000/
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมและกำจัดโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. นนทบุรี: กองโรคติดต่อนำโดยแมลง; 2564.
เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 2561;8(1):45-58.