ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์การติดชื้อวัณโรคแฝงในบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลขอนแก่น
คำสำคัญ:
การติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง, การตรวจวินิจฉัยวัณโรคแฝงด้วยวิธี IGRAs, บุคลากรทางการแพทย์บทคัดย่อ
การติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (Latent tuberculosis infection: LTBI) เป็นภาวะที่มีการรับเชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกายโดยผู้ที่ได้รับเชื้อไม่แสดงอาการบ่งชี้หรือมีอาการทางคลินิกป่วยเป็นวัณโรค ผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงมีโอกาสที่จะพัฒนาป่วยเป็นวัณโรคภายใน 2 ปีแรกหลังการติดเชื้อ บุคลากรทางการแพทย์เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการติดเชื้อและป่วยเป็นวัณโรครวมถึงการติดเชื้อระยะแฝงจากการทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค และมีโอกาสสัมผัสเชื้อเป็นระยะเวลานาน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลขอนแก่นและหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง โดยการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลขอนแก่น ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี พ.ศ.2566 และตรวจวินิจฉัยวัณโรคแฝงด้วยวิธี IGRAs (Interferon-gamma release assays) ผลการศึกษาในบุคลากร 638 ราย พบว่าความชุกของการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงของบุคลากรโรงพยาบาลขอนแก่นอยู่ที่ร้อยละ 19.9 โดยพบว่า อายุ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการตรวจพบการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง โดยอายุสามารถอธิบายความผันแปรของความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงได้ร้อยละ 11.4
References
World Health Organization. Latent tuberculosis infection: updated and consolidated guidelines for programmatic management. Geneva: WHO; 2018.
Division of Tuberculosis, Department of Disease Control, Ministry of Public Health (TH). Guidelines for prevention and control of tuberculosis transmission. 1st edition, Bangkok: Aksorn graphic and design publishing (TH); 2018. (in Thai)
Wanlop Payanan, Nirat Boddee, Niphon Udomrati, Sunan Na Songkhla and Watcharee Saribut. 3rd Survey of Tuberculosis in Thailand 2000-2002. Division of Tuberculosis, Department of Disease Control, Ministry of Public Health (TH). The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. Limited. (in Thai)
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. การบริหารจัดการค้นหาและรักษาวัณโรคระยะแฝงสำหรับผู้สัมผัสวัณโรค. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
Chanpho P, Chaiear N and Kamsa-ard S. Factors associated with latent tuberculosis infection among the hospital employees in a tertiary hospital of Northeastern Thailand. Int J Environ Res and Public Health 2020, 17, 6876; doi: 10.3390/ijerph17186876.
Nonghanphithak D, Reechaipichitkul W, Chaiyasung T and Faksri K. Risk factors for latent tuberculosis infection among health-care workers in Northeastern Thailand.Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2016; 47(6): 1198-1208.
Hfocus.org. [internaet]. Udonthani: Phiwat Thai public health foundation (TH); 2012. The survey revealed 31.41% of health workers infected with latent tuberculosis; 2018.
จตุพร วันไชยธนวงศ์, วิภา รีชัยพิชิตกุล, อภิชาต โซ่เงิน. การคัดกรองและการรักษาเชื้อวัณโรคระยะแฝงในผู้สัมผัสร่วมบ้าน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2563; 35(5): 639-647.
Reechaipichitkul W, Pimrin W, Bourpoern J, Prompinij S, Faksri K. Evaluation of Quanterfironr-TB Gold in-tube assay and tuberculin skin test for the diagnosis of Mycobacterium tuberculosis infection in northeastern Thailand. Asain Pac J Allergy Immunol 2015; 33: 236-244.
Center for Disease Control and Prevention (CDC). Guideline for the investigation of contacts of persons with infectious tuberculosis recommendations from the national tuberculosis controllers association and CDC.MMWR Recomm Rep 2005; 54 (RR-15): 49-55.
สุชาญวัชร สมสอน. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในบุคลากรสาธารณสุขเขตุสุขภาพที่ 4 ปีงบประมาณ 2564. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. 2566; 29(2): 16-24.
ชำนาญ ยุงไธสง, ผลิน กมลวัทน์, สายใจ สมิทธิการ, อรนันท์ ลิลากุด. การศึกษาอัตราการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงและการป่วยเป็นวัณโรคในบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. 2565; 6(2): 203-217.
Almohaya A, Aldrees A, Akkie L, Haskim AT, Almajid F, Binmoammar T, et al. Latent tuberculosis infection among health-care workers using Quantiferon-TB GoldPlus in a country with low burden for tuberculosis: Prevalent and risk factors. Ann Saudi Med. 2020; 40(3): 191-199.
บุญเชิด กลัดพ่วง, ชำนาญ ยุงไธสงและผลิน กมลวัทน์. อัตราความชุกของการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในโรงพยาบาลขนาดใหญ่จากการตรวจด้วยวิธี Interferon-gamma release assay (IGRA). วารสารโรคเอดส์. 2564; 33(1): 21- 35.