การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนนโยบายการลดใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
คำสำคัญ:
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, การขับเคลื่อนนโยบาย, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสนับสนุนนโยบายการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) 2) ศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเลือกประเด็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นปัญหาในการแก้ไขของพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย
เป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ที่เป็นอำเภอนำร่อง จำนวน 10 อำเภอ มุ่งเน้นการแก้ปัญหาการใช้สารกำจัดศัตรูพืช โดยเริ่มต้นที่การสนับสนุนด้านนโยบายจากผู้เกี่ยวข้อง และอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหา จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกร เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย เป็นกระบวนการ Policy advocacy การประชุมกลุ่ม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา จากการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงานลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ในเกษตรกรผ่านกลไกลคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ในปี พ.ศ.2561 พบว่ามี 8 อำเภอจาก 10 อำเภอ พิจารณาคัดเลือกประเด็นสารเคมีในเกษตรกรเป็นวาระของอำเภอ โดยมีตัวแปรที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร คือ นโยบายระดับจังหวัด ข้อมูลอัตราป่วย/อัตราตาย ความรุนแรงที่ส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ โอกาสในการป้องกันทำได้ง่าย ความตระหนักของพื้นที่ต่อปัญหานั้น ๆ กลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และมีกรณีตัวอย่างของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จากการติดตามผลการดำเนินงาน ปี พ.ศ.2562 มีจำนวนอำเภอที่เลือกประเด็นปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร เพิ่มขึ้นเป็น 11 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 12.6 ของอำเภอทั้งหมดในเขตสุขภาพที่ 8 ข้อเสนอแนะ สำหรับการคัดเลือกประเด็นของคณะกรรมการ พชอ.อาจจะเกิดจากการชี้เป้าจากข้อมูลที่ทีมงานนำเสนอ และส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาในพื้นที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว สำหรับบทบาทของสำนักงานป้องกันควบคุมโรค คือการจัดทำข้อมูลสถานการณ์ การชี้เป้า เสนอมาตรการและแนวทางแก้ไข รวมทั้งการสนับสนุนองค์ความรู้ ทั้งนี้สามารถเข้าไปสนับสนุนการดำเนินงานตั้งแต่การเข้าร่วมประชุมเพื่อคัดเลือกประเด็นปัญหา
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาแรงงาน/Informal_work_force/แรงงานนอdระบบ_2560/แรงงานนอกระบบ_60.pdf
ไทยพับลิก้า. Thai-PAN พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักไฮโดรโปนิกส์สูงกว่าผักทั่วไป [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 13 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://thaipublica.org/2018/01/thai-pan-22-1-2561/
กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลอัตราป่วยโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปีงบประมาณ พ.ศ.2558-2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 13 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=f16421e617aed29602f9f09d951cce68
กรมวิชาการเกษตร. ข้อมูลสถิติมูลค่าการซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : https://www.doa.go.th/ard/?page_id=85
กิตติ เหลาสุภาพ, ธานินทร์ ไชยานุกูล. ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 13 สิงหาคม 2565]; 4(2): 67–76. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/HSJT/article/view/256325/175871
แววดี เหมวรานนท์. การประเมินผลการดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2565]; 6(1): 140–57. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/247555
Coghlan D, Brannick T. Doing action research in your own organization. London: SAGE Publications Inc; 2001.
สายสมร ศักดิ์คำดวง, สุพจน์ ประไพเพชร, สุดสวาสดิ์ ประไพเพชร, วสันต์ แสงเหลา, ไกศิษฏ์ เปลรินทร์. การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: แนวทางการประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปัญญา. 2565; 4(3): 36–50.
กานต์ชัชพิสิฐ คงเสถียรพงษ์, ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ: ความท้าทาย
และการพัฒนา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ13 มิถุนายน 2565]; 13(2):275–86. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tcithaijo.org/index.php/unc/article/view/253837
สมยศ ศรีจารนัย. บทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2565] เข้าถึงได้จาก: http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8549s/รวม.pdf
สุภาพร ภูมิเวียงศรี, นฤมล สินสุพรรณ, อำนาจ ชนะวงษ์. การพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนในผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร อย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2565]; 14(2): 36–56. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/253182
สมศักดิ์ ยุบลพันธ์, รวมพล เหล่าหว้า, ธีระพล ปัญนาวี, สิทธิพร พรมดี, ศรายุทธ สุวรรณพงศ์. รูปแบบการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนระบบสุขภาพภาคประชาสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาสารเคมีการเกษตร อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. [ม.ป.ท.]: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม; 2561.
ภูดิท เตชาติวัฒน์, อภิชาต วิสิทธิ์วงษ์, ไพฑูรย์ อ่อนเกตุ, พัชรินทร์ สิรสุนทร, ทวีศักดิ์ นพเกษร, วินัย ลีสมิทธิ์, และคณะ. การสังเคราะห์ทางเลือกของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเขตเมือง เขตสุขภาพที่ 3. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 9 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https:// kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4841/hs2388.pdf?sequence=3&isAllowed=y