ประสิทธิผลของหลักสูตรการเรียนรู้โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
หลักสูตร, โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรการเรียนรู้โรคพยาธิใบไม้ตับ
และมะเร็งท่อน้ำดีในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จังหวัดขอนแก่น คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกคนที่ยินดีเข้าร่วมในโครงการ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 137 คน
และกลุ่มเปรียบเทียบ 92 คน โดยกลุ่มทดลองได้จัดการเรียน 12 สัปดาห์ ประกอบด้วย 1) ความรู้เรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยครูประจำชั้น 2) การเข้าถึงข้อมูล โดยเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ เรื่องพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ผ่านสื่อการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์บนโทรศัพท์มือถือ 3) การตัดสินใจ โดยมอบหมายให้นักเรียนสำรวจเมนูอาหารในครอบครัวตนเองและครอบครัวเพื่อนบ้านที่อยู่บริเวณรอบๆ จำนวน 5 หลัง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ แล้วนำมาแลกเปลี่ยนกันในห้องเรียนเกี่ยวกับเมนูอาหารชนิดที่เสี่ยงต่อการติดโรค 4) นักเรียนรายงานผลการเฝ้าระวังรถสูบสิ่งปฏิกูล สัปดาห์ละ 1 ครั้ง สรุปเป็นผลการจัดการตนเองในชุมชนร่วมกัน 5) ครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเยี่ยมบ้านนักเรียนกลุ่มเสี่ยงเพื่อสนับสนุนทางสังคม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและตรวจหาไข่พยาธิจากอุจจาระกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มด้วยวิธี Modified Kato Thick Smear Technique วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานใช้ Paired t-test และ Independent Sample t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้ การรับรู้ การปฏิบัติตนเพื่อการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี
สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และผลการตรวจไข่พยาธิลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง
References
World Health Organization. Control of foodborne trematode infection. WHO Tech Rep Ser 1995; 849.
Sithithaworn P, Andrews R, Van De N, Wongsaroj T, Sinuon M, Odermatt P, et al. The current status of opisthorchiasis and clonorchiasis in the Mekong Basin. Parasitology Int 2012; 61: 10-6.
Sriamporn S, Pisani P, Pipitgool V, Suwanrungrung K, Kamsa-ard S, Pakin D.M. Prevalence of Opisthorchis viverrini infection and incidence of cholangiocarcinoma in Khon Kaen, Northeast Thailand. Tropical Medicine and International Health 2004; 9: 588-94.
Sirisinha S, Tuti S, Tawatsin A, Vichasri S, Upatham E, Bunnag D. Attempts to induce protective immunity in hamsters against infection by a liver fluke of man (Opisthorchis viverrini). Parasitology 1983; 86: 127-136.
Sripa B, Pairojkul C. Cholangiocarcinoma: lessons from Thailand. Curr Opin Gastroenterol 2008; 24: 349-56.
Jongsuksuntigul P, Imsomboon T. Opisthorchiasis control in Thailand. Acta Trop 2003; 88(3): 229-232.
Saowakontha S, Pongpaew P, Vudhivai N, Tungtrongchitr R, Sanchaisuriya P, Mahaweerawat U, et al. Promotion of the health of rural women towards safe motherhood-an intervention project in northeast Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2000; 31(Suppl 2): 5-21.
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานโครงการกำจัดพยาธิใบไม้ ตับและมะเร็งท่อน้ำดีถวายเป็นพระราชกุศลฯ ในพุทธศักราช 2559 [เอกสารอัดสำเนา]; 2558.
ฐิติมา วงศาโรจน์, พงศ์ราม รามสูต, วรยุทธ นาคอ้าย, ดวงเดือน ไกรลาศ, วิชิต โรจน์กิตติคุณ, ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล. โครงการศึกษาสถานการณ์โรคหนอนพยาธิและโปรโตซัวในลำไส้ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข; 2552.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 7, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. ความรู้พื้นฐานโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
Rangsin R, Mungthin M, Taamasri M, Mongklon S, Aimpun P, Naaglor T, et al. Incidence and risk factors of Opisthorchis viverrini infections in a rural community in Thailand. Am. J. Trop. Med. Hyg 2009; 81(1): 152–155.
Sornmani S, Vivatanasesth P, Bunnag T, Intarakhao C, Harinasuta C. A study on the pattern of socioeconomic and health status in relation to parasitic diseases in the inhabitants around Ubolratana dam in northeast Thailand. Southeast Asian J Trop Med Hlth 1973; 4(3): 421-434.
กระทรวงสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์กำจัด พยาธิใบไม้ตับ ลดมะเร็งท่อน้ำดี วาระคนอีสาน. นนทบุรี: สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2555.
Havighurst R.J. Development tasks and education. 2nded. New York: McKay; 1952.
Maiman A, Becker. The health belief model: Original and correlates in phychological therapy. In M.H. Becker (ed). The health belief model and personal and personal health behavior. Thorofare. NJ: Charles B. Slack; 1974. 9-26.
Luxana L, Carl G-W, Narong K, Ross H. A, Trevor N. P, Puangrat Y, et al. Analysis of a school- based health education model to prevent opisthorchiasis and cholangiocarcinoma in primary school children in northeast Thailand. Global Health Promotion 2020; 27(1): 15-23.
ปรัชญา รักษานา. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ สคร. 9 2562; 25(2): 45-55.
Duffy M, Cunningham J. Constructivism: Implications for the design and delivery of instruction. In Jonassen, D. H. (Ed.) Handbook of Research for Educational Communications and Technology. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates; 1996.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. แนวทางการบริหารจัดการเวลาเรียนตามนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (Moderate Class More Knowledge) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2558]. แหล่งข้อมูล: http://www.moe.go.th/ websm/2015/ http://www.kksec.go.th/download/koolod001.pdf
Bloom B.S. Handbook on formative and summative evaluation of study of learning. New York: David Mackay; 1971.
จิรานันท์ วงศ์สุวรรณ, ศิวพร อึ้งวัฒนา, สุกฤตา สวนแก้ว. การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. พยาบาลสาร 2563; 47(3): 267-276.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. การกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชน: มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 วันที่ 26 ธ.ค. 2557 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก : http://www.samatcha.org/nha/website/subs/index