การบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) โรงพยาบาลสุรินทร์ กรณีศึกษา โรงพยาบาลสนาม

ผู้แต่ง

  • คมสันต์ แรงจบ

คำสำคัญ:

การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ, โรงพยาบาลสนาม, 3Rs (ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่)

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi- Experimental Research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาศักยภาพ                           ในการลดปริมาณมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากโรงพยาบาลสนามที่ต้องนำไปกำจัด ภายหลังจากการดำเนินการ                     ตามมาตรการและแนวทางบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่กำหนดขึ้น โดยใช้หลักการ 3Rs (Reduce ใช้น้อย                     Reuse ใช้ซ้ำ Recycle นำกลับมาใช้ใหม่) และกำหนดให้มีการคัดแยกมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด คือ มูลฝอยติดเชื้อ               มูลฝอยรีไซเคิล และมูลฝอยอินทรีย์ ทำการศึกษาระหว่างเดือน กรกฎาคม 2564 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2565                      โดยทำการชั่งน้ำหนักมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นต่อวัน แล้วหาอัตราเกิดมูลฝอยติดเชื้อต่อคน (กิโลกรัมต่อคนต่อวัน)                เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลัง กำหนดให้มีมาตรการคัดแยกมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด (มูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยรีไซเคิล และมูลฝอยอินทรีย์) แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบปริมาณมูลฝอยเฉลี่ยที่ลดลงหลังดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว โดยใช้ข้อมูลระยะเวลา 31 วัน ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาลสนาม                                               มีปริมาณเฉลี่ยลดลง จากเดิมมีปริมาณมูลฝอยติดเชื้อเฉลี่ย เท่ากับ 1.62 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน เมื่อดำเนินการ                   ตามมาตรการดังกล่าว มีปริมาณมูลฝอยเฉลี่ย เท่ากับ 0.88 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ปริมาณมูลฝอยที่ลดลงเฉลี่ย                   เท่ากับ 0.74 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 45.67 นอกจากนี้ยังสามารถคัดแยกมูลฝอยรีไซเคิลได้                           เท่ากับ 3,545.4 กิโลกรัม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นกระดาษลัง 3,097.8 กิโลกรม คิดเป็นร้อยละ 85.44                              รองลงมาเป็นขวดพลาสติกใส 428.50 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 11.81 และขวดแก้ว 61.60 กิโลกรัม                                  คิดเป็นร้อยละ 1.70 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ที่เป็นกระดาษลัง ที่มาจากเตียงกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเป็นหนึ่งในการส่งต่อความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อแก้ปัญหา                                            การขาดแคลนเตียงสำหรับรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลสนาม เมื่อพิจารณาแหล่งที่มาของการคัดแยกรีไซเคิล พบว่า การคัดแยกโดยผู้ป่วย ส่วนใหญ่เป็นขวดพลาสติกใส 306.50 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 84.23                              รองลงมาเป็นขวดแก้ว 40.60 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 11.16 และกระดาษลัง 36.00 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 9.89 ตามลำดับ รีไซเคิลที่มีการคัดแยกโดยเจ้าหน้าที่ พบว่า ส่วนใหญ่เป็น กระดาษลัง 3,062.60 กิโลกรัม                                    คิดเป็นร้อยละ 95.67 รองลงมาเป็น ขวดพลาสติกใส 122.00 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 3.81 และขวดแก้ว 21.00 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 0.66 ตามลำดับ มูลฝอยรีไซเคิลส่วนใหญ่ที่เป็นขวดพลาสติกใส เนื่องจากรูปแบบการให้บริการน้ำดื่มของโรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลสุรินทร์ ได้จัดให้มีน้ำดื่มแบบบรรจุขวดไว้สำหรับผู้ป่วย เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางอาหารและน้ำในช่วงโควิด-19

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ข่าวประชาสัมพันธ์ คพ. เผยปี 2564 ขยะมูลฝอยลดลงขยะติดเชื้อและขยะอันตรายเพิ่มขึ้น แนะจัดการอย่างถูกวิธี [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pcd.go.th/pcd_news/20802

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. การบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.kkpho.go.th/i2021/index.php/component /attachments/download/10115

กรมอนามัย. กรมอนามัย ยกความเข้ม 3 ระดับ จัดการมูลฝอยติดเชื้อช่วงระบาดโควิด-19 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/0305634/

กฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 119 ตอนที่ 86 ก. (ลงวันที่ 5 กันยายน 2545).

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คำแนะนำการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับผู้รับกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.anamai.moph.go.th/web-upload/2xdccaaf3d7f6ae30ba6ae1459eaf3dd66/m_document/6730/34096/file_download/9e9d2e4d36d0b8d87ac6de28454a43d7.pdf

กรมอนามัย. เอกสารวิชาการด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับเจ้าหน้าที่กรมอนามัย [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม 2565]. จาก https://env.anamai.moph.go.th/web-upload/ migrated/files/env/n1028_09ada3a80550416bc14befc323f34670_f014.pdf

Haque S, Uddin S, Sayem S, Mohib KM. Coronavirus disease 2019 (COVID-19) induced waste scenario: A short overview. Journal of Environmental Chemical Engineering 2020; 9(104660): 1-14.

คณิศร เทียนทองสวัสดิ์. พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลนครปฐม. [วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ฉบับที่ 1; วันที่ 25 มกราคม 2564.

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานลดคัดแยกขยะมูลฝอยภายในอาคารสำนักงาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัท ฮีซ์ จำกัด; 2552.

อุ่นเรือน ศิรินาค. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2561; 4(2): 40-52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022