การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคหนองในในหน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลขอนแก่น ปี พ.ศ.2562

ผู้แต่ง

  • นิทิกร สอนชา
  • อารดา หายักวงษ์
  • ศิริณา ศรัทธาพิสิฐ

คำสำคัญ:

ระบบเฝ้าระวัง, โรคหนองใน, หน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

          ในปัจจุบันสถานการณ์โรคหนองในมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ระบบเฝ้าระวังโรคจึงมีความสำคัญ แต่พบ
มีการรายงานโรคหนองในในหน่วยบริการปฐมภูมิต่ำมาก วิจัยนี้ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยที่มารับการรักษาในหน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลขอนแก่นที่ได้รับการวินิจฉัยตามนิยามกลุ่มโรคหนองในตามรหัส ICD-10 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และสัมภาษณ์ผู้ให้บริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ จากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยของกลุ่มตัวอย่างที่คัดเข้าในการศึกษาจำนวน 480 คน ประกอบด้วย ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่า
เป็นโรคหนองใน จำนวน 197 ราย และผู้ป่วยโรคอาการข้างเคียง 283 ราย พบว่าเป็นผู้ป่วยสงสัย188 ราย ผู้ป่วย
เข้าข่าย 28 ราย ผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย โดยระบบเฝ้าระวังโรค มีความไวที่ค่อนข้างต่ำเพียง ร้อยละ 31.80 มีค่า
การพยากรณ์บวกร้อยละ 100 การรายงานทันเวลา ร้อยละ 100 ซึ่งข้อมูลที่พบ มีความเป็นตัวแทนที่ดี มีความถูกต้อง
ของรายงาน ร้อยละ 75.36 ส่วนคุณลักษณะเชิงคุณภาพ ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์ พบว่า 1) มีการนำข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังโรคไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนจัดกิจกรรมในการป้องกันและควบคุมโรค 2) ผู้รับผิดชอบงาน
ส่วนใหญ่เข้าใจและยอมรับในระบบเฝ้าระวังและสามารถรายงานเข้าสู่ระบบได้ง่าย เนื่องจากดึงข้อมูลจากระบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยของหน่วยบริการได้เลยและบันทึกเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อยตามแบบฟอร์มรายงานในโปรแกรมรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 3) มีความยืดหยุ่นดี 4) ขาดความมั่นคงของระบบเนื่องจากไม่สามารถทำงานแทนกันได้หากผู้รับผิดชอบงานไม่อยู่ ค่าความไวที่ค่อนข้างต่ำ เพราะส่วนใหญ่จะรายงานตามการวินิจฉัยของแพทย์
หรือ ICD-10 ไม่ได้รายงานตามอาการตามนิยามในระบบเฝ้าระวังและไม่มีการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ดังนั้นจากผลการประเมินพบว่าการรายงานของระบบเฝ้าระวังโรคหนองในมีประโยชน์ในการเฝ้าระวังการระบาด
ในหน่วยบริการปฐมภูมิแต่ควรเพิ่มความไวในการวินิจฉัยให้ดีขึ้น

References

วัชรพล สีนอ. สถานการณ์โรคหนองในประเทศไทย พ.ศ. 2543 – 2552. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำสัปดาห์ 2555;43: S47-53.

สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. รายงานผลการดำเนินงานกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปี พ.ศ. 2555. สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ 2555; 52-3.

พนิดา กัณหากุล, ชลลดา อยู่ศิริ, สุดาพร ปุจฉากาญจน์. สถานการณ์โรคหนองในของผู้รับบริการในคลินิกตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรงพยาบาลเลย พ.ศ.2556–2558. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2560; 24(2):38-45.

สิริพร มนยฤทธิ์. สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 5 โรคหลักในเยาวชน ประเทศไทย ปีงบประมาณ พ.ศ.2557-2561 วิเคราะห์ตามกรอบระบบเฝ้าระวังโรค 5 มิติ. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

สำนักงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ ปี พ.ศ.2558.ตีพิมพ์ครั้งที่ 1 นนทบุรี:สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข;2561

กลุ่มระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. รายงานระบาดวิทยาปี 2562 ขอนแก่น : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข: 2562

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022