การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • วิชัย ศรีผา Muang Buengkan District Public Health office , Muang Bueng Kan District , Bueng Kan Province

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ , การป้องกันโรคโควิด-19 , อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)

บทคัดย่อ

โรคโควิด-19 คือโรคติดต่อซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนา องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศยกระดับโรคโควิด-19 เป็นการระบาดใหญ่ จากการแพร่ระบาดลุกลามไปทั่วโลก ทำให้อัตราการป่วยและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก จากรายงานขององค์การอนามัยโลกในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลก 14,562,550 ราย เสียชีวิต 607,781 ราย ส่วนในประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อ 3,255 ราย เสียชีวิต 58 ราย จังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดหนึ่งที่พบการระบาดของกลุ่มผู้ป่วยเป็นโรคโควิด-19 จากรายงานของจังหวัดบึงกาฬพบว่า มีจำนวนผู้ป่วยสะสมในเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2564 จำนวน 32 ราย, 45 รายและ 346 รายตามลำดับ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความรอบรู้ ด้านการป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จังหวัดบึงกาฬ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) 4 ขั้นตอน ตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart ผลการวิจัยพบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จังหวัดบึงกาฬ มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนความรอบรู้ด้านการป้องกันโรคโควิด-19  โดยรวมของกลุ่มตัวอย่างหลังดำเนินการมากกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (P-value < 0.05) ผลการวิจัยนี้ สะท้อนให้เห็นว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) สามารถการเข้าถึงข้อมูลการป้องกันโรคโควิด-19 ได้ ส่งผลเกิดความเข้าใจการป้องกันโรคโควิด-19  ทำให้มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19  โดยรวมอยู่ในระดับมาก

References

World Health Organization. Coronavirus. Geneva : World Health Organization. World Health Organization. (2020). World Health Organization multicounty survey on COVID-19. Retrieved April 30, 2020 from https://www.who.int/news-room/detail/27-04-

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2563.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข จังหวัดบึงกาฬ. 2564;01-04

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข จังหวัดบึงกาฬ. 2564;01-04

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.2563. เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2564. เข้าถึงได้จากhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.

Kemmis, & McTaggart. Action research in retrospect and prospect. The action research reader. Geelong, Vic: Deakin University.1982.

บุญเรียง ขจรศิลป์. วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : พี.เอ็น.การพิมพ์.2543.

กรมอนามัย. โครงการบริหารจัดการของสำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน. 2561;02

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. 2564 เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2564 เข้าถึงได้จากhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.

ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี, และ ภาสินีโทอินทร์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดอุดรธานี. 2564; 206

สมฤทัย เพชรประยูร. อิทธิพลของการรับรู้ความรุนแรงของโรคความแตกฉานด้านสุขภาพและการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. 2555; 186

บุญชม ศรีสะอาด. หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น. 2560.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพ ฯ : จามจุรีโปรดักท์. 2551.

ชาตรี แมตสี่. โปรแกรมสงเสริมสุขภาพต่อการควบคุมโรคของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลแพร่. 2549; 82

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-01-2023