สถานการณ์และแนวโน้มของพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของวัยทำงานในเขตสุขภาพที่ 6 ปี พ.ศ. 2562 – 2564

Situation and Trend of the Desirable Health Behavior of Working Age in Health Region 6 Year 2019-2021

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ บู่ทอง Saowalak
  • พัชรา พลเยี่ยม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์, พฤติกรรมสุขภาพ, วัยทำงาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มของพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของวัยทำงานในเขตสุขภาพที่ 6 ปี พ.ศ. 2562 – 2564 เป็นการวิจัยเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือประชากรวัยทำงานอายุ 15 - 59 ปี ในปี 2562 จำนวน 2,134 คน ปี 2563 จำนวน 5,449 คน และปี 2564 จำนวน 9,894 คน แบ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานตอนต้น อายุ 15 - 29 ปี กลุ่มวัยทำงานตอนกลาง อายุ 30 - 44 ปี  กลุ่มวัยทำงานตอนปลาย อายุ 45 - 59 ปี อาศัยอยู่ใน 8 จังหวัด ของพื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ชุด มี 2 ส่วน ได้แก่ ลักษณะทางประชากรและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์                โดยประเมินตนเองผ่านแอปพลิเคชันสมุดสุขภาพประชาชน (Health For You, H4U Application) เก็บข้อมูลปี 2562 – 2564 โดยใช้สถิติเชิงพรรณา คือ จำนวนและร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของวัยทำงาน ในปี 2562 – 2564 ในการบริโภคผักอย่างน้อยวันละ 5 ทัพพีตั้งแต่ 4-5 วันต่อสัปดาห์ พบมากในปี 2563 ร้อยละ 31.70 และส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานตอนปลาย ซึ่งพบว่ายังมีการบริโภคผักน้อยลง แต่ในปี 2562 – 2564 มีแนวโน้มในการบริโภคผักเพิ่มขึ้น การขยับร่างกายจนเหนื่อยกว่าปกติมากกว่าหรือเท่ากับ 150 นาทีต่อสัปดาห์มากขึ้น พบมากขึ้นในปี 2564 ร้อยละ 30.96 และส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานตอนปลาย แต่แนวโน้มการแปรงฟันก่อนนอนทุกวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์นานอย่างน้อย 2 นาทีพบมากขึ้นในปี 2564 ร้อยละ 28.34 และส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานตอนปลาย แต่มีการไป รับบริการทันตกรรมน้อยลง ซึ่งส่งผลต่อความเสี่ยงของโรคฟันผุ การนอนหลับวันละ 7-9 ชั่วโมงตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปต่อสัปดาห์ พบมากในปี 2562 ร้อยละ 61.91 และส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานตอนปลาย ซึ่งสามารถจัดการนอนหลับได้อย่างมีคุณภาพ เพียงพอและเหมาะสม ดังนั้น การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์จึงควรเน้นที่การบริโภค การเคลื่อนไหวออกแรง การดูแลช่องปาก การนอน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานตอนต้นและวัยทำงานตอนกลาง

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 12 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, กนิษฐา ไทยกล้า, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า,บรรณาธิการ. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ.2557.กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.

นายสืบพงษ์ ไชยพรรค, บรรณาธิการ. รายงานประจำปี กรมอนามัย2561. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

เกดชนา วันทาน. คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงาน บริษัท จินป่าว พรีซิชั่น อินดัสทรี่ จำกัด [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2561. 94 หน้า.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการเก็บข้อมูลเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ และปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพวัยทำงาน. นนทบุรี :กรมอนามัย; 2562.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการเก็บข้อมูลเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ และปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพวัยทำงาน. นนทบุรี : กรมอนามัย; 2563.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการเก็บข้อมูลเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ และปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพวัยทำงาน. นนทบุรี :กรมอนามัย; 2564.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ และปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพวัยทำงาน 2564[อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://dental.anamai.moph.go.th/web-upload/5x9c01a3d6e5539cf478715290ac946bee/ tinymce/07/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8% AD%20H4U%202565-Final.pdf

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. หุ่นดีสุขภาพดีง่ายๆแค่ปรับ4พฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: บริษัทสามเจริญพานิชย์(กรุงเทพ)จำกัด; 2561.

มงคล การุณงามพรรณ, สุดารัตน์ สุวารี, นันทนา น้ำฝน. พฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพของคนทำงานในสถานประกอบการเขตเมืองใหญ่ กรณีศึกษาพื้นที่เขตสาธร กรุงเทพมหานคร. ว.พยาบาลสงขลานครินทร์ 2555; 32(3): 51-66.

ศุภชัย บุณยมณี. ผลของโปรแกรมการจัดการสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.9 พิษณุโลก [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2564]; 2(1): 47-59. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/256306/173124

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สถานการณ์การบริโภคผักและผลไม้ในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 28 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thaihealth.or.th/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%81/

นุสบา ใจซื่อ, อภิญญา ธรรมแสง.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ ในตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 6 กรกฎาคม 2564]; 4(1):81-95. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/244455/169457

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-01-2023