การดูแลกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยรูปแบบ “เถียงนา โมเดล” โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
เถียงนา โมเดล, ภาคีเครือข่ายสุขภาพ, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการดูแลกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยรูปแบบ “เถียงนา โมเดล” และเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอำเภอตระการพืชผล ในการดูแลกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยรูปแบบ “เถียงนา โมเดล” กลุ่มเป้าหมาย คือ 1) กลุ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่อำเภอตระการพืชผล จำนวน 1,380 คน 2) ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่อำเภอตระการพืชผล จำนวน 377 คน
3) ภาคีเครือข่ายสุขภาพอำเภอตระการพืชผล จำนวน 89 คน ดำเนินการในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน –31 กรกฎาคม พ.ศ.2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ
ใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า อำเภอตระการพืชผล มีระบบการดูแลกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามรูปแบบเถียงนาโมเดล โดยมีกระบวนการในการดำเนินการ ดังนี้ 1.ศึกษาสภาพปัญหา 2.กำหนดแนวทางปฏิบัติ 3.ดำเนินงานตามรูปแบบ “เถียงนา โมเดล” ดังนี้ 3.1 ด้านการบริหารจัดการสถานที่ 3.2 ด้านการบริหารทีมงาน 3.3 ด้านการบริหารงบประมาณ 3.4 ประเมินผลการดำเนินงาน พบว่า กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการดูแลและได้รับการช่วยเหลือด้วยรูปแบบ“เถียงนา โมเดล” ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม ร้อยละ 100 ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพอำเภอตระการพืชผล ก่อนและหลังดำเนินงาน พบว่า ก่อนดำเนินการ การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.38 คะแนน และหลังดำเนินการ การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.68 คะแนน จึงกล่าวได้ว่า อำเภอตระการพืชผลสามารถให้การดูแลกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ มีแนวทางและกระบวนการ
ที่เป็นระบบ โดยคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ และความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ สามารถให้การดูแลผู้ป่วย
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามแผนที่จัดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดเป็นต้นแบบ“เถียงนา โมเดล” ให้พื้นที่อื่น ๆ
นำไปปรับใช้
References
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่545 [อินเตอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th.
ศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอตระการพืชผล. รายงานสถิติกลุ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอตระการพืชผล. เอกสารนำเสนอในการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข; 31 กรกฎาคม 2564; สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี.
ศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอตระการพืชผล. รายงานสถิติผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอตระการพืชผล. เอกสารนำเสนอในการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข; 31 กรกฎาคม 2564; สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี.
ยุทธพงษ์ เฮ้าประมงค์. การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารทั่วไป]. จังหวัดชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555.
ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี, และภาสินี โทอินทร์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการ สาธารณสุข 2564; 30(1): 53-61.
เดชา บัวเทศ, วันเพ็ญ บัวเทศ และระพีพร บูรณคุณ. กาพัฒนาการมีส่วนร่วมในการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลายของแกนนำชุมชนบ้านหนองคณฑี หมู่ที่ 4 ตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. สระบุรี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 สระบุรี; 2547.
บัณฑิต เกียรติจตุรงค์. 2564. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2564;(3)2:193-206.