การทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีกําจัดยุงลายโดยการพ่นหมอกควันในพื้นที่จังหวัดเลยและหนองบัวลำภู ปี 2565
คำสำคัญ:
ยุงลายบ้าน, ความไว, สารเคมีบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีต่อยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) โดยใช้วิธีการศึกษาประสิทธิภาพสารเคมีต่อยุงลายแบบ Bioassay test ตามวิธีการองค์การอนามัยโลก โดยนำลูกน้ำยุงลายบ้านสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการ (Bora bora) สายพันธุ์จังหวัดเลยและสายพันธุ์จังหวัดหนองบัวลำภู มาเพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนในห้องทดลองจนเป็นตัวเต็มวัย แบ่งยุงกลุ่มทดสอบ 300 ตัวต่อสายพันธุ์ และยุงควบคุม 75 ตัวต่อสายพันธุ์ พื้นที่ดำเนินการทดสอบ คือ จังหวัดเลย ทดสอบโดยการพ่นหมอกควัน กับสารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids) 3 ชนิด ประกอบด้วย เดลตาเมทริน (Deltamethrin), ไซเพอร์เมทริน (Cypermethrin) และเซต้าไซเพอร์เมทริน (Zeta-cypermethrin) ในขนาดอัตราการออกฤทธิ์เท่ากับ 0.5, 10 และ 2.25 กรัม/เฮกต้าร์ ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า ยุงลายบ้านสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการ (Bora bora) มีความไวระดับสูงต่อสารเคมีทั้ง 3 ชนิด ยุงลายบ้านสายพันธุ์จังหวัดเลย มีความไวระดับสูงต่อสารเคมี Cypermethrin อัตราตาย ร้อยละ 100, Deltamethrin มีความไวระดับต่ำ อัตราตาย ร้อยละ 69, Zeta-cypermethrin มีความไวระดับปานกลาง อัตราตาย ร้อยละ 89 ยุงลายบ้านสายพันธุ์จังหวัดหนองบัวลำภูมีความไวต่อ Cypermethrin ระดับสูง อัตราตาย ร้อยละ 100 Deltamethrin อัตราตาย ร้อยละ 89 และ Zeta-cypermethrin อัตราตาย ร้อยละ 95 ถือว่ามีความไวระดับปานกลาง สรุปได้ว่า ยุงลายบ้านมีความไวต่อสารเคมี 3 ชนิดแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนั้น ควรเลือกใช้สารเคมีที่มีความไวให้สอดคล้องกับพื้นที่ รวมทั้งใช้สารเคมีในกรณีจำเป็นเท่านั้น เพื่อความประหยัดปลอดภัยและป้องกันการดื้อของยุงพาหะ และมีการดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีของยุงลายบ้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเลือกใช้สารเคมีเพิ่มเติมต่อไป
References
ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, มุกดา หวังวีรวงศ์, วารุณี วัชรเสวี, บรรณาธิการ. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษามหาราชินี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การจัดการ โรคติดต่อนำโดยแมลง พ.ศ.2566-2575. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พ.ศ. 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.
กลุ่มงานระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี. ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 14 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/odpc8/r8dashboard/zr506.html
ขนิษฐา ปานแก้ว, บุษราคัม สินาคม, พรพิมล ประดิษฐ์, บุญเสริม อ่วมอ่อง. การศึกษาความไวต่อสารเคมีและสารเสริมฤทธิ์ของยุงลาย Aedes aegypti ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 27 ตุลาคม 2565]; 8(1): 69-83. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tcithaijo.org/index.php/dpcphs/article/ view/250053/169109
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการใช้เครื่องพ่นสำหรับผู้ปฏิบัติการเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก. พิมพ์ครั้งที่ 4. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]; 2560.
เสาวนีย์ ดีมูล, นันทิดา คำศรี, ฐานิกา นามะวงศ์, ภานุวัฒน์ ยอดคำ. การประเมินประสิทธิผลการพ่นสารเคมีควบคุมยุงลายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 2. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 ก.ค.2566]; 9(3): 50-65. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/258987
กองแก้ว ยะอูป, วาสนา สอนเพ็ง, บุญเทียน อาสารินทร์, พรทวีวัฒน์ ศูนย์จันทร์, สุกัญญา ขอพรกลาง. การประเมินประสิทธิภาพการพ่นสารเคมีควบคุมยุงลายขององค์กรปกครองท้องถิ่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2561; 25(2): 1-13.
ภูเบศร์ ยะอัมพันธ์, สุนัยนา สท้านไตรภพ, พงศกร มุขขันธ์, พรรณเกษม แผ่พร, วรรณภา ฤทธิสนธิ์. คุณลักษณะความไวของยุงลายบ้านต่อสารเคมีและประสิทธิภาพของสารเคมีประเภทฉีดพ่นหมอกควันในการกำจัดยุงลายบ้านที่มีความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงจากจังหวัดจันทบุรี. วารสารควบคุมโรค. 2564; 47(4): 967-981.
จิราภรณ์ เสวะนา, บุษราคัม สินาคม, บุญเสริม อ่วมอ่อง. ประสิทธิภาพของสารเคมีกําจัดยุงลายบ้านโดยการพ่นฝอยละเอียดแบบกึ่งภาคสนาม. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2563; 62(4): 343-351.
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประเมินความเสี่ยงการระบาดโรคติดต่อนําโดยแมลง ปี พ.ศ. 2565. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/drive/folders/1L9IlHT60Qixp3uoTgDOGAwvK2QjzDROq
World Health Organization. Manual on practical entomology in malaria: part 2 methods and techniques. Geneva: World Health Organization; 1975.
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือสารเคมีและเครื่องพ่นสารเคมีเพื่อควบคุมยุงพาหะนำโรค. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการทดสอบสารเคมี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2557.
World Health Organization. Guidelines for efficacy testing of insecticides for indoor and outdoor ground applied space spray applications. WHO Pesticide Evaluation Scheme (WHOPES). Geneva: World Health Organization; 2009.
Chavasse D.C., Yap H.H., Chemical methods for the control of vectors and pests of public health importance. World Health Organization (WHO/CTD/WHOPES/97.2). Geneva: World Health Organization; 1997.