รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พิชิต แสนเสนา -
  • ธวัชชัย คำป้อง
  • วิลาวัลย์ บุญมี

คำสำคัญ:

รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิต, อุบัติเหตุทางถนน, ระบบความปลอดภัยทางถนน, ศปถ.อำเภอ

บทคัดย่อ

การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ส่งผลต่อชีวิต ทรัพย์สิน และเศรษฐกิจ ซึ่งการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ได้ประยุกต์แนวคิดของเคมมิส และแม็กแท็กการ์ท โดยระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ปัญหา ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ประกอบด้วยการวางแผนการปฏิบัติตามแผน การสังเกตการณ์ และการสะท้อนผลลัพธ์ ระยะที่ 3 สรุปและประเมินผล ศึกษาในคณะกรรมการ ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ (ศปถ.อำเภอ) ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ศปถ.อปท.) ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดำเนินการวิจัยปีงบประมาณ 2559-2564 รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากโรงพยาบาลหนองเรือ ข้อมูลช่วงเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ จากกองสาธารณสุขฉุกเฉิน และเก็บข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนตามแนวคิดระบบความปลอดภัยทางถนน ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การขับเคลื่อนกลไก ศปถ.อำเภอ และบูรณาการกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) 2) การบริหารจัดการ “ข้อมูลข่าวสาร” โดยทีมคณะอนุกรรมการฯ เพื่อชี้เป้า จุดเสี่ยง กลุ่มเสี่ยง และพฤติกรรมเสี่ยง 3) การสะท้อนข้อมูลกลับเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาเชิงระบบ (คน รถ ถนน สิ่งแวดล้อมทั้งกายภาพและสังคม) 4) การขับเคลื่อนกลไก ศปถ.อปท. ต่อเนื่องและยั่งยืน 5) การสร้าง “เจ้าภาพ” 3 ร. (โรงเรียน โรงงาน รัฐ) 6) การดำเนินการตามแผน 7) การกำกับ ติดตาม 8) การถอดบทเรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 9) การประเมินผล จากการดำเนินการปีงบประมาณ 2559-2564 จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุจาก 866 ครั้ง เป็น 385 ครั้ง (ลดลงร้อยละ 55.54) และจำนวนผู้บาดเจ็บจาก 1,125 ราย เป็น 481 ราย (ลดลงร้อยละ 57.24) แต่อย่างไรก็ตามจำนวนการเสียชีวิตยังไม่บรรลุตามเป้าหมายทศวรรษความปลอดภัยทางถนน ดังนั้น ควรสร้างการมีส่วนร่วมของ ศปถ.อปท. โรงเรียน ชุมชน ครอบครัว ในการแก้ปัญหาแบบองค์รวม “คนปลอดภัย ถนนปลอดภัย ยานพาหนะปลอดภัย การจัดการความเร็ว”

References

องค์การอนามัยโลก. รายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: บริษัท สแกนด์มีเดีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด; 2559.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2558. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ; 2559.

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน. แผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2554-2563. กรุงเทพฯ: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน; 2554.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. 2554. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 128, ตอนพิเศษ 4 ง (ลงวันที่ 14 มกราคม 2554).

Kemmiqs S, Mc Taggart R. The Action Research Planner. Deakin University Press: Victoria; 1982.

โรงพยาบาลหนองเรือ. รายงานจำนวนครั้งการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน อำเภอหนองเรือ [เอกสารอัดสำเนา]. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]; 2564.

สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอ (รสอ.) District Health System (DHS) ฉบับประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2557.

ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. ระบบรายงานผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในช่วงเทศกาล [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ด้านการแพทย์และสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก : http://203.157.103.41/ reports/onepage_all.php

สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. จํานวนและอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนตอประชากรแสนคน ป พ.ศ. 2556-2558 จําแนกรายจังหวัด [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ย. 2559]. เข้าถึงได้จาก : http://thaincd.comd/ ocument/file/ info/injured/dataInjury%2056-58(12-09-16).pdf

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135, ตอนพิเศษ 54 ง (ลงวันที่ 9 มีนาคม 2561).

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. เครื่องมือ 5 ชิ้น ที่ทำให้กลไก ศปถ. ไปสู่ผลลัพธ์ [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaincd.com/document/file/download/paper-manual/แผ่นพับ_D-RTI_DISTRICT_ ROAD_ TRAFFIC_INJURY.pdf

ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย. สถานการณ์ COVID-19 ประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก : https:// www.moicovid.com/

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองเรือ. รายงานสถานการณ์ COVID-19 อำเภอหนองเรือ. [เอกสารอัดสำเนา]. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]; 2564.

สุรางค์ศรี ศีตมโนชญ์, วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์, ลักขณา ไทยเครือ, อรชร อัฐทวีลาภ. การพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรอย่างมีส่วนร่วมโดยอาศัยทรัพยากรและศักยภาพในพื้นที่ จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557; 23(4):580-92.

พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125, ตอนที่ 33 ก (ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551).

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2558. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132, ตอนพิเศษ 18 ง (ลงวันที่ 22 มกราคม 2558).

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132, ตอนพิเศษ 335 ง (ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2558).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-09-2023