การศึกษาสถานการณ์ของคุณภาพอากาศในอาคารด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ เขตสุขภาพที่ 1

ผู้แต่ง

  • พรชรัฐ สายยุทธ
  • ชาญณรงค์ ชัยสุวรรณ
  • วราพันธุ์ พรวิเศษศิริกุล
  • กัญชรส วังมุข

คำสำคัญ:

ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ, คุณภาพอากาศในอาคาร, เขตสุขภาพที่ 1

บทคัดย่อ

ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีภารกิจในการป้องกัน เฝ้าระวังโรคในผู้เดินทางระหว่างประเทศ ซึ่งสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ดีที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้ การศึกษานี้เป็นรูปแบบเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์คุณภาพอากาศในอาคารของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 1 จำนวน 6 แห่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ถึง 2561 โดยเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัด คือ เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารและเครื่องตรวจวัดฝุ่นละอองชนิดอ่านค่าทันที พารามิเตอร์ที่ตรวจวัด ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ฟอร์มาลดีไฮด์ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และฝุ่นละอองรวม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยเทียบกับมาตรฐาน ASHRAE: (American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers) ผลการศึกษา พบว่า อุณหภูมิในอาคารด่านควบคุมโรคฯทั้ง 6 แห่ง มีแนวโน้มผ่านมาตรฐานมากขึ้น เพิ่มจากร้อยละ 50.0 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 78.9 และ 95.9 ในปี 2560 และ 2561 ตามลำดับ ในขณะที่ฝุ่นละอองรวม และคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นพารามิเตอร์ที่มีแนวโน้มของการผ่านมาตรฐานลดลง ค่าฝุ่นละอองรวมผ่านมาตรฐาน ร้อยละ 77.8, 78.9 และ 71.4 ตามลำดับ และคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านมาตรฐาน ร้อยละ 100.0, 89.5 และ 85.7 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาการผ่านมาตรฐานของแต่ละพารามิเตอร์ พบว่า ในช่วง 3 ปี พารามิเตอร์ที่ผ่านมาตรฐานน้อยที่สุดคือ ค่าความชื้นสัมพัทธ์ผ่านมาตรฐานเพียงร้อยละ 74.4 และอุณหภูมิผ่านมาตรฐาน ร้อยละ 74.9 ดังนั้น ควรจัดสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสมแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้เดินทางโดยใช้แนวทางการแก้ไข 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกฎหมาย ด้านการกำหนดมาตรการของด่านควบคุมโรคฯ ด้านการบริหารจัดการ และด้านการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน

References

World Health Organization. กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ.2548. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556.

กัญญา ม่วงแก้ว. คุณภาพอากาศภายในอาคารสำนักงาน. สาระน่ารู้ เดือนพฤษภาคม 2559 โครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม คลังความรู้วิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ; 2559: 1-14.

วิกรม สงคิสิริ และคณะ. คุณภาพอากาศในห้องพักสูบบุหรี่ที่ท่าอากาศยาน. นครปฐม : โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์; 2543.

นภดนัย อาชวาคม. เอกสารการสอนคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality) [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 16 ก.ค.2561]. เข้าถึงได้จาก https://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_knowledge/phy_5_2559_indoor_air_quality.pdf

American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers, Inc. ASHRAE Standard 62-1999: Ventilation for Acceptable Indoor Air Quality. Atlanta, GA: American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers,Inc,1999.

ณหทัย เลิศการค้าสุข. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยสารสาธารณะกับกลุ่มอาการอาคารป่วยในพนักงานตั๋วโดยสาร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ฉบับพิเศษ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช; 2554: 87-98

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-01-2023