ผลของการใช้สื่อการเรียนแบบ e-Learning เรื่อง การฉีดยาต่อการเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • น้ำฝน อาตวงษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อาภาศิริ สายบุญเคียง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พีรพล หอมจันทร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อภิรมย์ อุณานันท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • มณีรัตน์ พรมน้อย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วชิราภรณ์ ศรีพุทธา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ศศิวิมล ชมพูท วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เอื้อลภัส สร้อยมาลัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ขนิษฐา จอมประมาณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อาริยา รัตนเพ็ชร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • รัชนี พจนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สายใจ คำทะเนตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สื่อการเรียนแบบบทเรียนอิเล็กโทรนิกส์ (e-learning) เรื่อง การฉีดยาต่อการเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 90 คน สุ่มเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มละ 45 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย สื่อการเรียนแบบบทเรียนอิเล็กโทรนิกส์ เรื่องการฉีดยา แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ สื่อการเรียนแบบอิเล็กโทรนิกส์ เปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยด้วย Paired t-test และ independent  t-test

ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) กลุ่มทดลองมีคะแนนหลังทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) สื่อการเรียนแบบอิเล็กโทรนิกส์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.42/80.92 และ 4) ความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.98, S.D.=0.68) ควรใช้สื่อการเรียนแบบอิเล็กโทรนิกส์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และความมั่นใจของผู้เรียนในการปฏิบัติการพยาบาลกับผู้รับบริการ

References

ธัญญลักษณ์ วจนะวิศิษฐ. (2557). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์. วารสารเกื้อการุณย์. 21(1) มกราคม-มิถุนายน.

นภาภรณ์ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ. 2555. การศึกษาการยอมรับการจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิงของอาจารย์และนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. Veridian E-Journal, 5(2), น. 388-402.

นิภา กิมสูงเนิน และสุวรีย์ เพชรแต่ง. 2559. ผลการใช้สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนพยาบาลมหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารพยาบาลกาชาดไทย, 9(1). น. 63-74.

นาถวดี นันทาภินัย. 2561. การวิจัยและพัฒนาบทเรียนอีเลินนิ่งเพื่อการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 13(2), น.54-69.

ปภาวดี ทวีสุข, เกษร สุวิทยะศิริ และเสาวลักษณ์ หวังชม. 2562. การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เรื่อง การตรวจครรภ์ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 35(1).น. 264-276.

ประยูร ไชยบุตร.2547. การสร้างนวัตกรรม e-Learning เรื่องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. [ออนไลน์].เข้าได้จาก http://dcms.thailis.or.th/tdc.

พิมพ์พัฒน์ จันทร์เทียน, ศุภาพิชญ์ โฟนโบร์แมนน์, & วรรณพร บุญเปล่ง. (2016). ความพร้อมของนักศึกษาพยาบาลใน สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 26(1), 134-148.

อรรถวิทย์ ชังคมานนท์ และก่องกาญจน์ ดุลยชัย (2560). การพัฒนารูปแบบทางเลือกสำหรับอีเลินนิ่งในยุคสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 11(ฉบับพิเศษ), น.44-55.

Bryn Holmes and John Gardner. 2006. E-Learning: Concepts and practice. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Clank, R. C. and Mayer, R. E. (2003). E-Learning and the science of instruction. JohnWiley & Sons,Inc, New York.

Eamsiriwong, O. 2008. Computer Science and Information Technology. Bangkok: SE-EDUCATION.

Park, E. H., & Hwang, S. Y. (2011). Development and effects of an e-learning program in operating room nursing for nursing students. Journal of Korean Academy of Nursing, 41(1), 36-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-13