ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะบีบคั้นทางจิตใจของวัยรุ่นไทยในสถานการณ์ โควิด 19 ในระยะเตรียมการปรับเป็นโรคประจำถิ่น

ผู้แต่ง

  • ภาณุมาศ อักโข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ไพรินทร์ กึกก้อง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • พิมพกานต์ หารลำยอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • พิรญาณ์ ดอกจันทร์รี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ภควดี โสธรรมมงคล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ภัทรวรรณ ครองยุทธ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ภุมรินทร์ ฐานะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • อัจฉรา คำมะทิตย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

วัยรุ่น, ภาวะบีบคั้นทางจิตใจ, โควิด-19

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะบีบคั้นทางจิตใจของวัยรุ่นไทยในสถานการณ์โควิด 19 ในระยะเตรียมการปรับเป็นโรคประจำถิ่น โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไป ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า กับภาวะบีบคั้นทางจิตใจของวัยรุ่นไทยในสถานการณ์โควิด 19 ในระยะเตรียมการปรับเป็นโรคประจำถิ่น โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นไทยที่มีอายุระหว่าง 18-25 ปี ในแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย จำนวนภูมิภาคละ 105 คน รวมทั้งหมด 420 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Samplings ใช้เครื่องมือแบบประเมิน Kessler Psychological Distress Scale (K10) ฉบับภาษาไทย และแบบประเมินความเครียด ความกังวล ความเศร้า (DASS-21) ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างเป็นแบบสอบถามออนไลน์ (Google form) แล้วจึงเก็บข้อมูลแบบ Online Survey

ผลวิจัยพบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 64.5) อายุ 20-22 ปี (ร้อยละ 58.8) ประกอบอาชีพ นักเรียน นักศึกษา นิสิต (ร้อยละ 70.7) กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา (ร้อยละ 52.9) กลุ่มตัวอย่าง มีภาวะเครียด ภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ภาวะบีบคั้นทางจิตใจในระดับปกติ ในสถานการณ์โควิด 19 ระยะเตรียมเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นอยู่ในระดับจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลปละภาวะบีบคั้นทางจิตใจพบว่า เพศ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ และภูมิภาคมีความสัมพันธ์กับภาวะบีบคั้นทางจิตใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ส่วนอายุไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะบีบคั้นทางจิตใจ ส่วนความสัมพันธ์ของความเครียด  ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า กับภาวะบีบคั้นทางจิตใจพบว่าทั้ง 3 ภาวะมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับภาวะบีบคั้นทางจิตใจของวัยรุ่นไทยในช่วงสถานการณ์โควิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยพบว่าความเครียด ( = .79,p ≤ .001) ความวิตกกังวล ( = .79,p ≤ .001) และภาวะซึมเศร้า ( = .80,p ≤ .001) ตามลำดับ

References

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, ลำพึง วอนอก, สุพัฒน์ อาสนะ, วรรณศรี แววงาม, กุลธิดา กิ่งสวัสดิ์, ภานุชนาถ อ่อนไกล. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(2), 138-146.

เชาวลิต ศรีเสริม, วิจิตรา จิตรักษ์, บุปผา ใจมั่น, พิชญานิกา เชื้อกาญจน. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะบีบ คั้นทางจิตใจของนักศึกษาพยาบาลในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 21(1), 77-88.

ธิดารัตน์ คณึงเพียร, จิรสุดา ทะเรรัมย์. การศึกษาการรับรู้ด้านสุขภาพ ความกังวลต่อไวรัส Covid-19 และภาวะ สุขภาพจิต นักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 9(1), 308-319.

ภัทราภรณ์ ภทรสกุล, ศิริรัตน์ นิตยวัน, สุวิท อินทอง, และราตรี ทองยู (2021). in Rahman, M.A., Islam, S.M.S., Tungpunkom, P. et al. (2021). COVID-19: Factors associated with psychological distress, fear, and coping strategies among community members across 17 countries. Global Health 17, 117: 1-19 https://doi.org/10.1186/s12992-021-00768-3

ยุทธชัย ไชยสิทธิ์, ขวัญประภัสร จันทร์บุลวัชร์, รัตติยา ทองอ่อน, อรอุมา แก้วเกิด. (2564). การวิเคราะห์มโนทัศน์ ภาวะบีบคั้นทางจิตวิญญาณ. วารสารสภาการพยาบาล, 36(2) 5-17

ลัดดา อินไหม, ชัยณรงค์ มากเพ็ง, นันทวุฒิ วงศ์เมฆ, นวรัตน์ เมามีจันทร์, ซอลาฮ เด็งมาซ. (2565). ความชุก และ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของความเครียด ความกังวล และภาวะซึมเศร้า ของวัยรุ่นในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): กรณีศึกษาโรงเรียนรัษฎา จังหวัดตรัง.วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 15(2), 48-58.

รัตนาภรณ์ ชูทอง, ภควัต วิวัฒนวรเศรษฐ์, ณภัควรรต บัวทอง, ยุพา หนูทอง, ชาตินันท์ อยู่สุข, ณัฐกุล รุ่งเรือง, นพดล หมัดอาหวา, พีระสิทธิ์ แซ่ลิ้ม, แพรนภา ชัยทวี ทรัพย์, ภัทรเนตร ชี้เจริญ, เรณุกา จันทร์สุวรรณ และ องค์อร สรายุทธพิทักษ์ (2562) ภาวะสุขภาพจิต สภาพและการปฏิบัติหน้าที่ของ ครอบครัวในนักศึกษาระดับปริญญาตรีของ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ภาคใต้ของประเทศไทย, วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 64(4), 337-350

วรินทิพย์ สว่างศรี (2564). ความชุกของการรับรู้ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคโควิด 19 เขตกรุงเทพมหานคร.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์.

วิศิษฏ์ เนติโรจนกุล. (2563). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลนครปฐมในยุคการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). วารสารแพทย์เขต 4-5, 39(4), 616-627.

วรดา ปีติยา, พลิศรา ธรรมโชติ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบด้านอารมณ์และพฤติกรรมในวัยรุ่นจาก สถานการณ์การระบาดโควิด-19. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

Baloch, G. M., Sundarasen, S., Chinna, K., Nurunnabi, M., Kamaludin, K., Khoshaim, H. B., ... & AlSukayt, A. (2021). COVID-19: exploring impacts of the pandemic and lockdown on mental health of Pakistani students. PeerJ, 9, e10612.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Huckins, J. F., DaSilva, A. W., Wang, W., Hedlund, E., Rogers, C., Nepal, S. K., ... & Campbell, A. T. (2020). Mental health and behavior of college students during the early phases of the COVID-19 pandemic: Longitudinal smartphone and ecological momentary assessment study. Journal of medical Internet research, 22(6), e20185.

Purnama, A., Susaldi, S., Mukhlida, H. Z., Maulida, H. H., & Purwati, N. H. (2021). Mental Health in Health Students during Coronavirus Disease-19: Systematic Review. Open Access Macedonian Journal of Medical Sciences, 9(F), 205-210.

Qiu, J., Shen, B., Zhao, M., Wang, Z., Xie, B., & Xu, Y. (2020). A nationwide survey of psychological distress among Chinese people in the COVID-19 epidemic: Implications and policy recommendations. General Psychiatry, 33(e100213), Retrieved from https://gpsych.bmj.com/content/gpsych/33/2/e100213.full.pdf

Rehman U, Shahnawaz MG, Khan NH, Kharshiing KD, Khursheed M, Gupta K, Kashyap D, Uniyal R. (2021). Depression, Anxiety and Stress Among Indians in Times of Covid-19 Lockdown. Community Mental Health Journal, 57(1), 42-48. doi: 10.1007/s10597-020-00664-x.

Wang, X., Hegde, S., Son, C., Keller, B., Smith, A., & Sasangohar, F. (2020). Investigating mental health of US college students during the COVID-19 pandemic: cross-sectional survey study. Journal of medical Internet research, 22(9), e22817.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-08