การเปรียบเทียบระดับความมั่นใจและทักษะการเจาะเลือดด้วยตนเองต่อการใช้หุ่นแขนฝึกเจาะเลือด ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
คำสำคัญ:
หุ่นแขนฝึกเจาะเลือด, ความมั่นใจในการเจาะเลือด, ทักษะการเจาะเลือดบทคัดย่อ
การเจาะเลือดเป็นทักษะการพยาบาลที่ต้องฝึกฝนให้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะนักศึกษาพยาบาล อย่างไรก็ดี มีข้อจำกัดหลายประการในการฝึกปฏิบัติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี จึงได้พัฒนาหุ่นแขนฝึกเจาะเลือดเพื่อเป็นสื่อในการฝึกเจาะเลือดด้วยตนเอง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความมั่นใจในการเจาะเลือดและทักษะการเจาะเลือดด้วยตนเองต่อการใช้หุ่นแขนฝึกเจาะเลือดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี จำนวน 71 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามการเปรียบเทียบระดับความมั่นใจและทักษะการเจาะเลือดด้วยตนเองต่อการใช้หุ่นแขนฝึกเจาะเลือด ค่าความตรงของเครื่องมือ IOC เท่ากับ .67 – 1.00 ค่า Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่า
ความคิดเห็นต่อหุ่นแขนฝึกเจาะเลือดภาพรวมอยู่ในระดับดี ทั้งด้านการผลิต (M = 4.07, SD = 0.84) การนำไปใช้ (M = 4.14, SD = 0.80) และการบำรุงรักษา (M = 4.19, SD = 0.81) ความมั่นใจและทักษะในการเจาะเลือดหลังการฝึกเจาะเลือดด้วยหุ่นแขนฝึกเจาะเลือดสูงกว่าก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001(r = 0.09, p-value <0.001; r = 0.15, p-value <0.001)
ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการฝึกปฏิบัติเจาะเลือดการให้สารน้ำ และการพัฒนานวัตกรรมต่อไป
References
ธารินี นนทพุทธ, และ ปฐมามาศ โชติบัณ. (2564). การพัฒนานวัตกรรมหุ่นฝึกการให้สารน้ำบริเวณแขน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(3), 49-60.
ตรีนุช พุ่มมณี, จุฑามาศ สุวรรณวัฒน์, กรวิกา บวชชุม, อรวรรณ หนูแก้ว, พิเชษฐ์ สุวรรณจินดา, ภัทราภรณ์ วรสิรินารา. (2566). ผลของสื่อวีดิทัศน์การสอนเรื่องการตรวจสภาพจิตร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาต่อความรู้ ความมั่นใจและความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. วารสารวิจัยทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 43(1), 67-79.
นพวรรณ บุญบำรุง และ ศุทธิจิต ภูมิวัฒนะ. (2557). ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการดูดเสมหะทางท่อทางเดินหายใจเทียมโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อความรู้ ทักษะ และความมั่นใจในนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. วารสารสภากาชาดไทย, 7(1), 38-47.
เบญญพร บรรณสาร. (2560). การประดิษฐ์หุ่นแขนผู้ใหญ่แบบพกพา เพื่อฝึกการเจาะเลือด และการเปิดเส้นเลือดให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาล, 32(8): 38-49.
สุภลักษณ์ เชยชม และ ดลรัตน์ รุจิวัฒนากร. (2558). การใช้นวัตกรรมหุ่นแขนในการฝึกหัตถการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำของนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 21(3), 395-407.
อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์, นงค์คราญ วิเศษกุล, ปิยวรรณ สวัสดิ์สิงห์, ศันสนีย์ เอื้อพันธ์วิริยะกุล, และ สุสัณหา ยิ้มแย้ม. (2565). การพัฒนาหุ่นจำลองแขนให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ. วารสารพยาบาลสารมหาวิทยาลัย เชียงใหม่, 49(3), 311-323.
อะเคื้อ อุณหเลขกะ และ สุชาดา เหลืองอาภาพงศ์. (2556). การป้องกันอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคมของโรงพยาบาลในประเทศไทย. พยาบาลสาร. 40(พิเศษ): 130-142.
Buchne, A. (2010). G*Power: Users Guide-Analysis by design. Web Page of Heinrich-Heine-Universitat - Institut fur experimentelle Psychologie
Buowari, O. Y. (2013). Complications of venipuncture. Advances in Bioscience and Biotechnology. 4(1A), 8-126.
Colledge H. (2015). What are the most common intravenous complication?. Retrieved 8 April 2024 from http://www.wisegeek.org/whatare-the-most-common-intravenouscomplications.htm
Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A. & Lang, A.G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods. 41, 1149-1160.
Jarintanan, F., Chanprasert, K., Kongwan, W., Ratanawiboolsook, N., Pawinwongcha, J., & Liemmanee, W. (2016). Rubber arm with fluid system for venipuncture training, new model in clinical skills tutors. Science and technology RMUTT Journal, 6(1), 212-220.
Garus-Pakowska, A. & Górajski, M. (2019). Behaviors and attitudes of polish health care workers with respect to the hazards from blood-borne pathogens: A questionnaire-based study. International Journal of Environmental Research and Public Health, 16(5), 891-904.
Honda, M., Chompikul, J., Rattanapan, C., Wood G. & Klungboonkrong S. (2011). Sharps injuries among nurses in a Thai regional hospital: prevalence and risk factors. International Journal of Occupational & Environmental Medicine, 2(4), 215-223.
Kelley, D. & Kelley, T. (2013). Creative Confidence: Unleashing he Creative Potential within us all. New York: Crown.
Motaarefi, H., Mahmoudi, H., Mohammadi, E. & Hasanpour-Dehkordi, A. (2016). Factors associated with needle stick injuries in health care occupations: A systematic review. Journal of Clinical and Diagnostic Research, 10(8), IE01–IE04.
Meunya, S., Nualthong, W., Thongtang, P. & Thepthongkum, D. (2014). Factors influencing nursing skills on perception of student nurses after their clinical practiced in principles and techniques in nursing practicum, Boromarajonani college of nursing, Uttaradit. Journal of Nursing and Health Sciences. 6(3), 200-211. (In Thai)
Saengpayab, Y., Kongsri, W., Chongsereecharoen, E., Pratummasoot, N., Akkarapattanapong, V. & Jarintanan, F. (2020). Venipuncture training assists using electrical sensors in a rubber arm system. Journal of Physics: Conference series, 3(1719), 1-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.