ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกที่ 3

ผู้แต่ง

  • วาริณี ร่มวาปี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • วาสนา ประมวลสิงห์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • วิรัช ทับทิมชื่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • วิไลลักษณ์ สุพรรณอาสน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • วิศัลย์ศยา ชำนาญเวช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • ศศิณา ภู่สวัสดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • ศิริวรรณ เรืองฤทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • ศิริวรรณ แก้วมา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • บุญแทน กิ่งสายหยุด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

คำสำคัญ:

เชื้อโควิด-19, การเรียนออนไลน์, คุณภาพชีวิตของนักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการเรียนกับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่ 3 จำนวน 142 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ประกอบด้วยแบบสอบถาม 3 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการเรียน และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์กรอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF Thai Version) วิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านการเรียน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านการเรียน กับคุณภาพชีวิต  ผลการวิจัยพบว่า

คุณภาพชีวิตโดยรวมของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับปานกลาง (M=2.19, SD=0.44) เพศมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย โทรศัพท์มือถือและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายและคุณภาพชีวิตโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง

ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล

References

กนิษฐา อ่อนศิริ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารจันทรเกษมสาร, 17(33), 71-76.

กมลรัตน์ ทองสว่าง. (2560). คุณภาพชีวิตของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏชัยภูมิ. วารสารสาระคาม, 8(2), 1-14.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564 จากhttps://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

กรมสุขภาพจิต. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL– BREF - THAI). ในโครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ ปี พ.ศ. 2545 (1-8). กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

ธรรมรัตน์ แซ่ตัน, โภไคย เฮ่าบุญ, โสภณ จันทร์ทิพย์, ธงชัย สุธีรศักดิ์ และวัชรวดี ลิ่มสกุล. (2564). ความพร้อมต่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของนักศึกษาภายใต้สถานการณ์การระบาดไวรัส COVID-19: กรณี ศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. Journal of Multidisciplinary Academic Research and Development (JMARD), 3(1), 23-37.

พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์ และเบญจวรรณ พิททาร์ด. (2557). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7(1), 97-108.

เพาพะงา จิตต์สวาสดิ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยของนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา. (หลักสูตร 5 ปี) คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เขตวัฒนา.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์. (2564). ประกาศมาตรการป้องกันโควิด-19. กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ กศ.ม.(จิตวิทยาการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564 จาก http://bcnsprnw.aos.in.th/th/news_page/2564-07-10-covid19

วิธัญญา แซ่ล้อ. (2560). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาปริญญาตรี ภาคปกติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 5, ราชภัฏจอมบึง.

วิราพร จันทศิลป์, มฤษฎ์ แก้วจินดา และวรางคณา โสมะนันทน์. (2021). การศึกษาภาวะเสพติดอินเทอร์เน็ตในนักศึกษาระดับปริญญาตรี:คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารรัชต์ภาค, 15(38), 108-122.

สมัครสมร ภักดีเทวา. (2021). การเรียนรู้ยุคใหม่กับการเรียนการสอนออนไลน์ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารสุโขทัย ธรรมาธิราช, 34(1), 1-18.

สัจวรรณฑ์ พวงศรีเคน, กุมาลีพร ตรีสอน, ปภัชญา คัชรินทร์, ดาริณี สุวภาพ, จำรัสลักษณ์ เจริญแสน, และอติญา โพธิ์ศรี. (2563). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(3), 208-219.

อนันต์ตรี สมิทธิ์ นราเศรษฐ์. (2018). การศึกษาคุณภาพชีวิตของนักศึกษา พยาบาล มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(4), 562-576.

Barayan, S. S., Al Dabal, B. K., Abdelwahab, M. M., Shafey, M. M., & Al Omar, R. S. (2018). Health-Related Quality of Life among Female University Students in Dammam District: Is Internet use related? Journal of Family & Community Medicine, 25(1), 20. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29386958/

Moritz, A. R., Marques-Pereira, E., Pereira-de-Borba, K., Clapis, M. J., Gryczak-Gevert, V., & Mantovani, M. D. F. (2016). Quality of Life of Undergraduate Nursing Students at a Brazilian Public University. Investigacion y Educacion en Enfermeria, 34(3), 564-572.

World Health Organization. (2012). WHOQOL: Measuring Quality of Life. https://www.who.int/tools/whoqol

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-13