ภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: ภาวะหมดไฟในการเรียน, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะหมดไฟในการเรียนและเปรียบเทียบภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปี 2 - 4 จำนวน 233 คน ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบออนไลน์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามภาวะหมดไฟในการเรียน แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ ความอ่อนล้าทางสภาวะบุคคลและความอ่อนล้าทางด้านผลลัพธ์ของบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Independent t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษาพยาบาลชั้นปี 2 - 4 มีภาวะหมดไฟในการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งรายด้านและภาพรวม โดยภาพรวมในชั้นปี 2 (M= 3.11, SD = 0.61) ชั้นปี 3 (M= 3.07, SD = 0.42) และชั้นปี 4 (M= 3.17, SD = 0.52)
2. การเปรียบเทียบภาวะหมดไฟในการเรียนกับเพศ อายุ ระดับชั้นปี ผลการเรียนเฉลี่ยรวม ความตั้งใจในการเข้ามาเรียนพยาบาล ค่าใช้จ่าย และเรื่องอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สบายใจ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ภาพรวมภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง หากวิทยาลัยขาดการวางแนวทางในการแก้ไขป้องกันจัดการเพื่อลดระดับภาวะหมดไฟ อาจส่งผลให้นักศึกษามีภาวะหมดไฟในการเรียนที่มี แนวโน้มสูงขึ้น และส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้และบัณฑิตพยาบาลที่มีคุณภาพได้
References
กนกวรรณ ศรีสองเมือง. (2559). อิทธิพลของความเครียดในการเรียนที่มี ต่อภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: บทบาทการเป็นตัวแปรปรับของการเรียนรู้การสนับสนุนทางสังคม. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาลัยเชียงใหม่.
กัลยา วงษ์สมัย. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริการด้านเครื่องรูดบัตรเครดิต(ธนาคารกรุงศรีอยุธยา), (วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (บริหารธุรกิจ)), บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพ.
กรมสุขภาพจิต. (2564). Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟในการทำงาน. https://dmh.go.th/news/view.asp? id=2445.
กอเกษ ต่ายเกิด, ครองขวัญ รั้วมั่น, นิรุชา ปรีชาเลิศศิลป์, วินิทรา นวลละออง และปนัดดา โรจน์พิบูลสถิตย์. (2562). ความชุกและ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะหมดไฟ (Burnout syndrome) ในนักศึกษาแพทย์ระดับชั้นฟรี คลินิกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารการ แพทย์ธรรมศาสตร์. 2562(19), 27-138.
ชัยยุทธ กลีบบัว. (2552). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน: การประยุกต์โมเดลความต้องการทรัพยากรของงาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะจิตวิทยา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยพร พงษ์พิสันต์รัตน์. (2564). ความเหนื่อยหน่ายในการเรียน: สภาวการณ์ที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ Learning Burnout An Inevitable Cirecumstances. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 15(1), 8-16.
ธารารัตน์ พรมสาร, ฐิติภรณ์ อรุณถิน, และเบญจมาส มั่นอยู่. (2564). ภาวะหมดไฟทางการเรียนของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยนเรศวร. ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(3), 1-10.นครินทร์ ชุนงาม. (2563). สุขภาพจิตและภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 28(4), 348-59.
วชิรญาณ์ มณีวรรณ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟของครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 19(36), 196-207.
วรนุช กิตสัมบันท์. (2538). ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งอดทน สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิต. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Collopy, K.T. (2012). Are you under stress in EMS?: Understanding the slippery slope of burnout and PTS.D. Continuing Education, (October): 47-56.
Demerouti, E., Mostert, K., & Bakker, A. B. (2010). Burnout and work engagement: A thorough investigation of the independency of both constructs. Journal of Occupational Health Psychology, 15(3), 209–222. http://dx.doi.org/10.1037/a0019408.
Maria Jesús Valero-Chillerón. (2019). Burnout syndrome in nursing students: An observational study. Nurse Education Today. https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S026069171 808566?via%3Dihub.
Maslach, C., Jackson, S.E. and Leiter, M.P. (1996). Maslach burnout inventory. 3rd ed. Palo Alto, California: Consulting Psychologists PressRovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.