ผลการใช้โปรแกรมลดน้ำหนักสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ที่มีดัชนีมวลกายเกิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

ผู้แต่ง

  • กัญญารักษ์ นาเมืองรักษ์ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นันธญา สอนบัว นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ภัครมัย คำไร่ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ยศวดี ไชยราช นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วรันธร สุวรรณบุตร นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อภิญญา ไชยสวัสดิ์ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เอกพันธ์ ขาวกุญชร นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นิรุธ มะโนมัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: ผลการทดลอง, ภาวะน้ำหนักเกิน, โปรแกรมลดน้ำหนัก

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อน - หลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบดัชนีมวลกายภายในก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ปีการศึกษา 2566 ที่มีดัชนีมวลกายเกิน 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 21 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ โปรแกรมลดน้ำหนักที่มีระยะเวลา 4 สัปดาห์  แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลดัชนีมวลกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า

หลังเข้าร่วมโปรแกรมลดน้ำหนัก ดัชนีมวลกายของกลุ่มตัวอย่างลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 p-value < 0.001  

ควรจัดออกกำลังกายแบบใช้น้ำหนักร่างกายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อผลที่ดีในระยะยาวเพราะการออกกำลังกายแบบใช้น้ำหนักร่างกายนี้มีผลต่อมวลกล้ามเนื้อ และสามารถออกกำลังกายได้โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องอุปกรณ์และสถานที่จึงเหมาะสมกับบุคคลทุกคน

References

จตุพร จำรองเพ็ง. (2561). ผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2566 จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5814031117_8677_ 9183.pdf

นีฟาน มะกาสิลา เเละคณะ. (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเต้นแอโรบิคต่อการลดน้ำหนักของนักศึกษาที่มีน้ำหนักเกินมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2566 จาก https://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/6572?show=full

วัชรินทร์ เสมามอญ. (2562). ผลการใช้โปรแกรมการลดน้ำหนักสำหรับนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 5(2), 61-70.

ยุพา หนูฟอง, ไหมมูน๊ะ อาแย. (2559). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองด้านอาหารและการออกกำลังกายต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายและน้ำหนักของนักศึกษาที่มีภาวะอ้วน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 36(2), 78-92.

สุวรรณา เชียงขุนทด, ชนิดา มัททวางกูร, กุลธิดา จันทร์เจริญ, เนตร หงส์ไกรเลิศ, นารี รมย์นุกุล, ฐิติมา อุดมศรี, สมหญิง เหง้ามูล. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 2(1), 45-61.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2562). โครงการผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการลดน้ำหนักของเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2566 จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/download/184823/ 159279/

Alisha Mack, (2021), A Worksite Weight Loss Program: An Innovative Way to Improve Obesity.Retrieved 18 August 2023, https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34963667/.

Johnston, C. A., Tyler, C., McFarlin, B. K., Poston, W. S., Haddock, C. K., Reeves, R., & Foreyt, J. P. (2007). Weight loss in overweight Mexican American children: a randomized, controlled trial. Pediatrics, 120(6), e1450–e1457. doi.org/10.1542/peds.2006-3321

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-10