ประสิทธิผลของการฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
วิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ, ทัศนคติ, ทักษะการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อผู้สูงอายุในชุมชนของนักศึกษาพยาบาลเพื่อศึกษาทักษะในการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนของนักศึกษาพยาบาลและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแลจากนักศึกษาพยาบาล ซึ่งมีกลุ่มประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ห้อง B จำนวน 75 คน และผู้สูงอายุที่อยู่ในความดูแลของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ห้อง B จำนวน 75 คนโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจขอผู้สูงอายุต่อการดูแลของนักศึกษาพยาบาลที่ฝึกปฏิบัติรายวิชาผู้สูงอายุ แบบสอบถามทัศนคติต่อรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ ต่อผู้สูงอายุ และต่อการดูแลผู้สูงอายุ และแบบสอบถามทักษะในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนของนักศึกษาพยาบาลเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน 5 ระดับ หาค่าคุณภาพเครื่องมือโดยเลือกเฉพาะข้อคำถามที่มีค่า IOC = 0.50 - 1.00 ขึ้นไป และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.7 ขึ้นไปจึงนำไปใช้ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง
ผลการวิจัย พบว่า 1. ทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลต่อรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.39, S.D. =0.49) 2. ทักษะในการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนของนักศึกษาพยาบาลในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.50, S.D. =0.53) 3. ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแลจากนักศึกษาพยาบาล ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D. =0.42)
References
กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ประไพพิศ สิงหเสม และ วัลทณี นาคศรีสังข์. (2560). สมรรถนะที่จำเป็นต่อการดูแล ผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพ เมื่อเข้าสู่การเป็นสงคมผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(1), 1-11.
จิราพร เกศพิชญวัฒนา, สุวิณี วิวัฒน์วานิช, อังคณา ศรีสุข, และ สหรัฐ เจตมโนรมย์. (2561). คู่มือ เรียนรู้เข้าใจวัยสูงอายุ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร (พิมพ์ครั้งที่ 1). https://www.nurs.chula.ac.th/images/2019/announcement/คมอเรยนรเขาใจวยสงอาย.pdf
ชลการ ทรงศรี. (2559). การจัดบริการสุขภาพที่บ้าน (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัท เพ็ญพรินติ้ง จำกัด.
ธัญวรัตน์ แจ่มใส. (2564). นโยบายเกี่ยวกับสวัสดิการของผู้สูงอายุในประเทศไทย Policy on Elderly Welfare in Thailand. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 20(3), 6-12.
ธัญรดี ปราบริปู และคณะ. (2561). ประสบการณ์การฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุของ นักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ. ราชกิจจานุเบกษา แพทย์ทหารอากาศ, 64(3), 17-24.
นิรุวรรณ เทิร์นโบล์, วิลาวัณย์ ชาดา, วิพา ชุปวา, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, สุทิน ชนะบุญ, เบญจพล แสงไสว, สุภาพร ชัยชัญวัฒนา, และ นงลักษณ์ ตั้งปรัชญากูล. (2563). ภาวะสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ health status, and factors associated with self-care among older adults. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(3), 35-49.
ปาณิศา บุณยรัตกลิน. (2563). บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนกับ การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน Community Health Nurses’ Role in Promoting Health Literacy among Older Adults.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 13(1), 63-75.
ปิ่นนเรศ กาศอุดม และคณะ. (2562). ทัศนคติต่อผู้สูงอายุของวัยรุ่น. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 9(2), 71-85.
วรางคณา ศรีภูวงษ์, ชาญยุทร ศรีภูวงษ์, เอมอร สุทธิสา, ธนกร จันทาคึมบง, มยุรา นาสีเคน, และ สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลท่าขอนยางอำเภอกันธาราวิชัยจังหวัดมหาสารคาม ปี 2560-2562. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(2), 13-18.
วรางคณา สายสิทธิ์ และคณะ. (2566). ผลของการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ต่อทักษะการปฏิบัติพยาบาลของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 40(2), 222-231.
วรรณรัตน์ ลาวัง และ สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. (2557). การใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐานเพื่อการเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนิสิตพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนUsing Project-based Learning to Enhance 21st Century Skills of Master’s Students in Nursing Science Program (Community Nurse Practitioner). วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(2), 35-36.
สิริอร ข้อยุ่น, ภาสินี โทอินทร์, และ วัจนา สุคนธวัฒน์. (2562). สมรรถนะการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่3 จังหวัดนครสวรรค์, 13(3), 12-24.
สุภารัตน์ พิสัยพันธุ์, อนงค์ลักษณ์ วงศ์ตรี, และ ณัฐธยาน์ ชาบัวคำ. (2565). ความรู้และทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(1), 325-342.
Anniina Tohmola, Satu Elo, Kristina Mikkonen, Helvi Kyngas, Sinikka Lotvonen, and Reetta Saarnio. (2020). Nursing students' competence profiles in gerontological nursing-A crosssectional study. Nurse Open, 9(1), 199-209. https://doi: 10.1002/nop2.1054
Fengling Dai, Yao Liu, Mei Ju, and Yufeng Yang. (2021).Nursing students' willingness to work in geriatric care: An integrative review. Nurse Open, 8(5), 2061-2077. https://doi:10.1002/nop2.726.
Kristin Corey Magan, Stephanie Ricci, and Elizabeth Hathaway. (2023). Factors influencing baccalaureate nursing students' attitudes toward older adults: An integrative review. J ProfNurse, 47, 1-8. https://doi: 10.1016/j.profnurs.2023.03.012.
Mei Hau Kerry Hsu, Man Ho Ling, and Tai Lok Lui. (2019). Relationship Between Gerontological Nursing Education and Attitude Toward Older People. Nurse Education Today, 74, 85-90. https://doi :10.1016/j.nedt.2018.12.007
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.