ประสิทธิผลสื่อเสมือนจริง Arm Step Sensor Version II สำหรับนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
คำสำคัญ:
สื่อเสมือนจริง, ประสิทธิผล , การพันผ้า , ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อหาประสิทธิผลด้านความรู้จากการใช้งานสื่อเสมือนจริง Arm Step Sensor Version II และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ต่อสื่อเสมือนจริง Arm Step Sensor Version II กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 - 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี จำนวน 54 คนกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G* power ได้ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์เท่ากับ 0.67 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ Dependent pair t-test ผลการวิจัยพบว่า
หลังใช้สื่อ นักศึกษาพยาบาลมีความรู้เรื่องการพันผ้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทักษะการพันผ้าปฏิบัติถูกต้องเป็นส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (M = 4.76, SD = 2.65) รายข้อส่วนใหญ่มีทักษะล้างมือก่อนลงมือปฏิบัติการพันผ้ามากที่สุด (M = 4.70, SD = 0.54) ความพึงพอใจคุณภาพของสื่อ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 สูงที่สุด (M = 4.52, SD = 0.47) รายข้อมีความพึงพอใจด้านนวัตกรรมมีความสวยงาม ทันสมัย น่าใช้งานมากที่สุด (M = 4.57, SD = 0.63)
จากผลการศึกษาพบว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนทำให้นักศึกษามีความรู้เพิ่มมากขึ้นและสามารถพัฒนาทักษะได้อย่างมีประสิทธิภาพอาจารย์ผู้สอนควรเห็นความสำคัญในการใช้สื่อในการประกอบการเรียนการสอนและผู้บริหารสถานศึกษาควรให้การสนับสนุนโมเดลหรือสื่อประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้และ มีความเข้าใจในเนื้อหาที่สามารถนำไปฝึกทักษะต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญได้
References
ณัฏฐ์ ดิษเจริญ และคณะ. (2557). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่อง โครงสร้างอะตอมและพันธะเคมี ด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ดเรียลลิตี้. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 5(1), 21-27.
ทวีศักดิ์ กาญจนสวรรณ. (2552). เทคโนโลยีมัลติมีเดีย. กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์. บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ:
สุวีริยาสาส์น. ประยงค์ ฐิติธนานนท์. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อประเมินสมรรถนะผู้เรียน. คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารบัณณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 14(2), 99-104.
ปิยะธิดา นาคสกุล . (2556). การประดิษฐ์บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การพันผ้ายืดสำหรับตอขา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 80–85.
พนิดา ตันศิริ.(2553). "โลกเสมือนผสานโลกจริงAugmented Reality". Executive Journal. (online). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ยุทธชัย ชัยสิทธิ์, ประเสริฐ ไพบูลย์รุ่งโรจน์. (2555). ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง: แนวคิดและการปฏิบัติการพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล, 39(3), 65-74
วราพร บุญมี. (2564). สื่อการสอนกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่21. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(9), 374-386.
วรัญญา ลี้มิ่งสวัสดิ์, ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี และสมเกียรติ ตันติวงศ์วาณิช, (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงด้วยการ์ตูนแอนิเมชันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 607-614
ศษมา แสนปากดี. (2557). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในบอร์ดประชาสัมพันธ์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, (ฉบับพิเศษ), 257-264.
พิเชนทร์ จันทร์, อภิวัฒน์ วัฒนะสุระ. (2561). สือการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีมิติเสมือนจริง เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษสัตว์โลกน่ารู้. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2565 จาก http://it.rmu.ac.th/project-journal/assets/ uploads/formidable/6/4- 1-4-23-28.pdf
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.
Parker, B., & Myrick, F. (2010). Transformative learning as a context for human patient simulation. Journal of Nursing Education, 49(6), 326-332.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.