ผลของการจัดกิจกรรมเรียนรู้แยกขยะผ่านละครสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมต่อการเพิ่มทักษะแยกขยะของเด็กประถมศึกษาปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลบ่อพลอย อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด

ผู้แต่ง

  • นวรัตน์ เหลืองโสมนภา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5 โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม จังหวัดตราด
  • กฤษฎา ชูจิตร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5 โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม จังหวัดตราด
  • กฤษณะ มณีมา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5 โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม จังหวัดตราด
  • กฤษณา กองสมัคร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5 โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม จังหวัดตราด
  • ประไพวดี สุพิศ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5 โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม จังหวัดตราด
  • ปรียานุช สื่อสุวรรณ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5 โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม จังหวัดตราด
  • พัทธดนย์ เขียวสง่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5 โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม จังหวัดตราด
  • สุธาทิพย์ ไสยแพทย์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5 โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม จังหวัดตราด
  • ธนโชติ พิมพ์แก้ว นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5 โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม จังหวัดตราด
  • ปิยะทัศน์ ชัยภา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5 โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม จังหวัดตราด
  • กฤษณา สระแสง นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ยศพล เหลืองโสมนภา นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มวัดก่อน - หลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะแยกขยะของเด็กประถมศึกษาปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลบ่อพลอย อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ก่อนและหลังได้รับกิจกรรมสร้างการเรียนรู้แยกขยะผ่านละครสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลบ่อพลอย อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ปีการศึกษา 2567 จำนวน 18 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ กิจกรรมสร้างการเรียนรู้แยกขยะผ่านละครสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมและแบบสังเกตทักษะการแยกขยะ ดำเนินกิจกรรมการทดลองในวันที่ 4 มิถุนายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ และ McNemar test ผลการวิจัยพบว่า

หลังได้รับกิจกรรมสร้างการเรียนรู้แยกขยะผ่านละครสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมกลุ่มตัวอย่างมีทักษะการแยกขยะดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

ดังนั้นครูสามารถนำกิจกรรมสร้างการเรียนรู้แยกขยะผ่านละครสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมนี้ไปฝึกทักษะการแยกขยะของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ได้ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการแยกขยะที่ดีในอนาคตของเยาวชนต่อไป

References

กฤษณพงษ์ เลิศบำรุงชัย. (2019. พีระมิดแห่งการเรียนรู้ (Cone of Learning). สืบค้นเมื่อ เมื่อ 5 มิถุนายน 2567 จาก https://touchpoint.in.th/cone-of-learning/

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2566). รู้เท่าทันปัญหาโลกร้อน. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม จาก https://shorturl.at/q946R นพดล สุชาติ. (2556). KAPPA test of Agreement. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.gotoknow.org/posts/395368

ปวีณา พาณิชยพิเชฐ. (2563). ลดโลกร้อนด้วย zero waste. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2567 จาก https://shorturl.at/tpZvX

มนนภา เทพสุด และ ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ. (2567). ภาวะโลกร้อน: ภัยคุกคามร้ายแรงที่ถูกขับเคลื่อนบนโลกยุคอุตสาหกรรม. วารสารสมาคมนักวิจัย, 29(2), 96-113.

ราเชล แย้มสุนทร. (2564). ละครสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาซอร์ฟสกิล. วารสารวิจัยวิชาการ, 4(4), 305-318.

ลิขิต ใจดี และกุสุมา เทพรักษ์. (ม.ป.ป). ละครสร้างสรรค์: กระบวนการเรียนรู้ทางเลือกใหม่ที่สอดคล้องกับทิศทางการศึกษาของชาติ. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม. จาก https://shorturl.at/jfSsl

วิชยุตม์ มณีโชติ. (2560). การออกแบบอนิเมชั่น 3 มิติเพื่อสร้างจิตสำนึกในการทิ้งขยะสำหรับเด็กอายุ10 -12ปี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสื่อนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา. (2567). ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse effect). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2567 จาก http://climate.tmd.go.th/content/article/10

สุภาภรณ์ ศิริโสภณา. (2553). ลดโลกร้อนด้วยการแยกขยะและใช้ถังขยะแยกประเภท. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 1(1), 54-60.

March March. (2020). พัฒนาการของเด็กประถมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2567 จาก https://prezi.com/p/8emwa4r3eksx/present

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-11