ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายทารกที่มีภาวะตัวเหลืองโดยใช้รูปแบบ IDEAL ต่อความรู้และทักษะของผู้ดูแล

ผู้แต่ง

  • ศศิประภา สุระขัน หอผู้ป่วยเด็กวิกฤตและทารกแรกเกิดป่วย โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเศร
  • เสาวภา ขุนวิไชย หอผู้ป่วยเด็กวิกฤตและทารกแรกเกิดป่วย โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเศร
  • ศิริวรรณ พันธ์สวัสดิ์ หอผู้ป่วยเด็กวิกฤตและทารกแรกเกิดป่วย โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเศร

บทคัดย่อ

วิจัยแบบกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการวางแผนจําหน่ายทารกที่มีภาวะตัวเหลืองต่อความรู้และทักษะของผู้ดูแลโดยใช้กรอบแนวคิดแบบ IDEAL และเพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการวางแผนจําหน่าย ในผู้ดูแลทารกที่มีภาวะตัวเหลือง จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความรู้ แบบประเมินทักษะ และรูปแบบการวางแผนจําหน่ายทารกที่มีภาวะตัวเหลือง ตามกรอบ IDEAL ได้ค่าความตรงของเนื้อหา เท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยะล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า

คะแนนเฉลี่ยในการให้ความรู้ผู้ดูแลทารกที่มีภาวะตัวเหลืองเพื่อป้องกันการกลับมารักษาซ้ำในทารกตัวเหลืองหลังได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายด้วยรูปแบบ IDEAL สูงกว่าก่อนการได้รับการวางแผนจำหน่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 9.953; p < .001) คะแนนเฉลี่ยความแตกฉานในการให้ฝึกทักษะผู้ดูแลทารกที่มีภาวะตัวเหลืองหลังได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายด้วยรูปแบบ IDEAL สูงกว่าก่อนการได้รับการวางแผนจำหน่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 76.69; p < .001)

โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายด้วยรูปแบบ IDEAL ส่งผลให้ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะการดูแลทารกที่มีภาวะตัวเหลืองที่ถูกต้อง เหมาะสมและมั่นใจในตนเอง ตลอดจนช่วยให้ทารกแรกเกิดตัวเหลืองปลอดภัยจากการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นนำสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของทารกต่อไป

References

กินรี ชัยสวรรค์, และ ธนพร แย้มสุดา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. วารสารแพทย์นาวี, 45(2), 235-249.

พรรณวรดา สุวัน, ลุนนี ราชไชย, และ ณัฐวรรณ ชัยมีเขียว. (2562). ประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวานตามกรอบแนวคิด IDEAL โรงพยาบาลส่องดาว สกลนคร. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 42(2), 112-124.

วรรษมน ปาพรม. (2561). ผลของโปรแกรมสนับสนุนและแอปพลิเคชันให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองและได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(3), 167-178.

วราลี เดชพุทธวัจน์, และแสงแข ชำนาญวนกิจ. (2559). ประสิทธิผลของโคมส่องไฟฟลูออเรสเซนต์และกระโจมส่องไฟแอลอีดีในการรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. เวชสารแพทย์ทหารบก, 69(2), 115-121.

ศิริมา มณีโรจน์. (2565). ผลของโปรแกรมการดูแลและวางแผนจำหน่ายโดยใช้ IDEAL Model ต่อความรู้ระดับน้ำตาลสะสม ความพร้อมในการจำหน่ายและอัตราการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาซับซ้อน. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร, 6(1), 78-91.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ยุทธศาสตร์ตัวชี้วัดและแนวทางการจัดเก็บข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. กระทรวงสาธารณสุข.

Burke, R. E., Kripalani, S., Vasilevskis, E. E., & Schnipper, J. L. (2013). Moving beyond readmission penalties: Creating an ideal process to improve transitional care. Journal of Hospital Medicine, 8(2), 102-109. https://doi.org/10.1002/jhm.1990

Chantanamongkon, K. (2011). Pediatric nursing. M&M Laser Print Limited Partnership. Cohen, J. (1992). Quantitative methods in psychology: A power primer. Psychological Bulletin, 112(1), 155-159.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191.

Halasyamani, L., Halasyamani, S., Coleman, E., Schnipper, J., Van Walraven, C., Nagamine, et al. (2006). Transition of care for hospitalized elderly patients development of a discharge checklist for hospitalists. Journal of Hospital Medicine, 1(6), 354-360. Retrieved March 25, 2024 from https://doi.org/10.1002/jhm.129.

Israel, G. D. (1992). Sampling the evidence of extension program impact (PEOD-5). Program Evaluation and Organizational Development, IFAS, University of Florida. Mosby's dictionary of medicine, nursing & health (3rd ed.). (2013). National Health and Medical Research Council.

National Health and Medical Research Council. (2013). A guideline to the development, implementation and evaluation of clinical practice guidelines. Retrieved March 25, 2024 from http://www.nhmrc.gov.au.

Nelson, J. M., & Rosenthal, L. (2015). How nurses can help reduce hospital readmissions. American Nurse Today, 10(5), 18-20.

Shepperd, S., McClaran, J., Phillips, C. O., Lannin, N. A., Clemson, L. M., McCluskey, A., et al. (2014). Discharge planning from hospital to home. Cochrane Database of Systematic Reviews, (1).

Shuster, J. J. Boca Raton, F. L. (1990). CRC Handbook of Sample Size Guidelines for Clinical Trials. CRC Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-26