การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกเชิงกรานหักร่วมกับมีภาวะเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด

ผู้แต่ง

  • พิชญาภัค บุญประสิทธิ์ โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

คำสำคัญ:

กรณีศึกษา, กระดูกเชิงกรานหัก, ภาวะเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด, การพยาบาล

บทคัดย่อ

กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกเชิงกรานหักร่วมกับมีภาวะเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอดอย่างปลอดภัยและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และให้การพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ ตั้งแต่แรกรับ จนส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาในโรงพยาบาลตติยภูมิ ภาวะกระดูกเชิงกรานหักร่วมกับเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด ถือเป็นภาวะที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต เนื่องจากกระดูกเชิงกรานเป็นแหล่งเลือดขนาดใหญ่ การหักของกระดูกเชิงกรานจึงอาจทำให้เกิดการเสียเลือดอย่างรุนแรง และเมื่อมีเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอดเพิ่มเข้ามา จะทำให้ปอด   ไม่สามารถขยายตัวได้เต็มที่ ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดออกซิเจนในเลือดและอวัยวะอื่นๆ ภาวะนี้จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันการเสียชีวิต จากกรณีศึกษา จำนวน 1 ราย ผู้ป่วยชายไทย อายุ 51 ปี สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย ศาสนาพุทธ ประสบอุบัติเหตุเดินเท้าบนท้องถนนแล้วถูกรถพ่วงบรรทุก เฉี่ยวชน หมดสติ หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ขั้นสูงของโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ออกรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ วันที่ 13 พฤษภาคม  พ.ศ. 2567 เวลาเกิดเหตุ 21.00 น. ได้รับแจ้ง/ออกรับผู้ป่วยเวลา 21.30 น. ถึงโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ เวลา 22.36 น. หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ขั้นสูงของโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ใช้แนวคิดทฤษฎีการพยาบาลแบบองค์รวม (Holistic Care) ในการให้การพยาบาลผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ ให้การพยาบาลด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ ดูแลครบทุกด้านไม่แยกส่วนโดยคำนึงถึงองค์ประกอบของร่างกาย ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ และใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของ Orem มาวิเคราะห์ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย และจัดระบบบริการทดแทนที่ผู้ป่วยต้องได้รับ ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่า ผู้ป่วยมีการบาดเจ็บหลายระบบ มีบาดแผลขนาดใหญ่ทำให้มีการเสียเลือดจำนวนมาก หมดสติ  ไม่รู้สึกตัว จึงทำให้เกิดความผิดปกติของสัญญาณชีพ ไม่สามารถรับรู้และช่วยเหลือตนเองได้ในทุกเรื่อง และไม่สามารถหายใจได้เอง นั่นหมายความว่า ผู้ป่วยมีภาวะพร่องในการดูแลตนเอง พยาบาลจำเป็นต้องใช้ระบบการพยาบาล     แบบทดแทนทั้งหมด (Therapeutic Self-Care Demand) กับผู้ป่วยรายนี้ และวินิจฉัยการพยาบาลตามรูปแบบ     ของ NANDA ผลการศึกษาพบว่า

ผู้ป่วยมีปัญหาการพยาบาลที่สำคัญ 5 ข้อ ดังนี้ 1) มีภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากการหายใจไม่มีประสิทธิภาพจากการมีเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด 2) มีภาวะช็อกจากการเสียเลือด เนื่องจากมีกระดูกเชิงกรานหักและมีบาดแผลเปิดขนาดใหญ่ที่ศีรษะและมีเลือดไหลออกจากแผลเป็นจำนวนมาก 3) เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันอุดตันหลอดเลือดในปอด จากการมีกระดูก เชิงกรานหัก 4) ปวดขา 2 ข้างเนื่องจากเนื้อเยื่อและเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ และ 5) ญาติมีความวิตกกังวลกับอาการบาดเจ็บจากเกิดอุบัติเหตุซึ่งจากการใช้กระบวนการพยาบาลกับผู้ป่วยดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลให้การพยาบาลเบื้องต้นเพื่อแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจน ตั้งแต่แรกรับ ณ จุดเกิดเหตุ และดูแลต่อเนื่องบนรถพยาบาลจนถึงห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ ผู้ป่วยมีระดับความรู้สึกตัวต่ำ GCS 3 คะแนน (E1V1M1) หายใจ Air Hunger จึงใส่ท่อช่วยหายใจ เบอร์ 7.5 และให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นจนผู้ป่วยมีอาการคงที่และสามารถส่งต่อไปรับการรักษาต่อ   ที่โรงพยาบาลพุทธโสธรได้อย่างปลอดภัย

References

ดวงกมล สุวรรณ์, วิภา แซ่เซี้ย และประณีต ส่งวัฒนา. (2561). ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีต่อผลลัพธ์การดูแลในผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ. วารสารสภาการพยาบาล, 33(4), 33-45.

พงศธร ฉันท์พลากร,ชนิกา อังสนันท์สุข,นรเทพ กุลโชติ,ปพน สง่าสูงส่ง,เทพรัตน์ กาญจนเทพศักดิ์. (2562). ตำราการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ Textbook of orthopedic trauma. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล.

สมพล ฤกษ์สมถวิล. (2560). การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้อง. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 11(3), 1-8.

ไสว นรสาร. (2563). การพยาบาลผู้บาดเจ็บ. ไอเดีย อินสแตนท์.

American Holistic Nurses Association, American Nurses Association. (2007). Holistic nursing: scope and standards of practice. Silver Spring.

Fawley, J. A., Tignanelli, C. J., Werner, N. L., Kasotakis, G., Mandell, S. P., Glass, N. E., et al. (2023). American Association for the Surgery of Trauma/American College of Surgeons Committee on Trauma clinical protocol for management of acute respiratory distress syndrome and severe hypoxemia. Journal of Trauma and Acute Care Surgery, 95(4), 592-602.

Guerado, E., Bertrand, M. L., Valdes, L., Cruz, E., & Cano, J. R. (2015). Suppl 1: M3: resuscitation of polytrauma patients: the management of massive skeletal bleeding. The open orthopaedics journal, 9, 283.

Moore E. E., Feliciano D. V., & Mattox K.L.(Eds.). (2017). Trauma, 8e. McGraw-Hill Education. Retrieved November 2, 2024 from https://accesssurgery.mhmedical.com/content. aspx?bookid=2057§ionid=156210710

North American Nursing Diagnosis Association. (1999). NANDA Nursing Diagnoses: Definitions and classification 1999–2000. Philadelphia.

Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. (2001). Nursing: Concepts of practice (6thed.). Mosby.

Wertheimer, A., Olaussen, A., Perera, S., Liew, S., & Mitra, B. (2018). Fractures of the femur and blood transfusions. Injury, 49(4), 846-851.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-26