ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพขณะเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • ธนกร โพนสูง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • รัชชานนท์ โสดาตา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • นิตยา บุตรอินทร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ยาสุมิน กรานพรมมา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • รจนา เนื่องชมพู วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • คัทลียา จันบุตราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • สุชัญญา สารสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ณฐพร ราชมุลตรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • สิริอร ข้อยุ่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

ความเครียด, พยาบาลวิชาชีพ, COVID 19

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการ ปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพขณะเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 317 คน เก็บข้อมูล ระหว่าง 21 ตุลาคม 2564 ถึง 5 พฤศจิกายน 2564 เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินระดับความเครียดและแบบสอบถามปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด การวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่า 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการหาความสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation)

ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาจบปริญญาตรี รายได้อยู่ในช่วง 15,001-20,000 ต่อเดือน ประสบการณ์การทำงาน 1-5 ปี ระดับความเครียดในการปฏิบัติงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (M=2.05, SD=0.70) และพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพมากที่สุดคือด้านลักษณะงาน ซึ่งมีความสัมพันธ์ปานกลางกับระดับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.41, p≤0.001)

ผลการวิจัยในครั้งนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางป้องกันแก้ไขหรือให้คำปรึกษา เพื่อช่วยลดปัญหาที่ก่อให้เกิดความเครียดจากการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพขณะเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

References

Aimnang, C., Tribuddharat, S., Sathitkarnmanee, T., & Sabangban, L. (2021). Stress of Anesthesia Personnel at Srinagarind Hospital during Covid-19 Pandemic. Srinagarind Medical Journal, 36(3), 347-352. (in Thai).

Arnetz, J. E. (2563). Nurse Reports of Stressful Situations during the COVID-19 Pandemic: Qualitative Analysis of Survey Responses.

Boonmee, S. (2012). Stress Factors Affecting Working Behavior Private Registered nurse in Prathumthani. from http://mba.swu.ac.th/article/fileattachs/10022015121908_f_0.pdf

Duangsoithong, T. & Chawanakrasaesin, K. (2014). Stress and Related Factors among Nurses Working in the Princess Mother National Institute on drug abuse treatment. Journal of Health Science, 23(4), 696-703. (in Thai).

Lueluang, W. & Vorahan, W. (2012). Factors Influencing Role Practices of Professional Nurses at Operating Room in Regional Hospitals, Northeast Region. Retrieved from https://gsbooks.gs.kku.ac.th/55/cdgrc13/files/mmo7.pdf

Netirojjanakul, W. (2020). Prevalence and Associated Factors of Mental Health Problems on Healthcare Workers at Nakhonpathom Hospital in Corona Virus Disease 2019 (COVID-19) Epidemic Era. Region 4-5 Medical Journal, 39(4), 616-627. (in Thai).

Oktovin, Mohammad Basi, and Margareta Rosa Peni. (2564). The Mental Stress of Nurses During the COVID-19 Outbreak. Retrieved from https://1th.me/DNVuf

Panthong, M., Anusanti, S., Keyuranon, P. (2018). Relationship Between Work Envirionment and Professional Nurses Stress of Prasat Neurological Institute. Journal of Public Health Nursing, 32(3), 151-164. (in Thai).

Peterson, J. (1995). Decision‐Making in the European Union: Towards a framework for analysis. Journal of European Public Policy, 2(1), 69-93.

Prapasorn, J. (2021). Stress and Factors Associated with Operational Stress of Khaen Dong Hospital Personnel, Buriram Province in the Covid-19 Pandemic Situation. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 15(38), 469-483. (in Thai).

Pumfang, S. & Srisatidnarakul, B. (2015). Factors of Job Stress for Professional Nurses in Tertiary Hospital. Kuakarun Journal, 22(2), 141-143. (in Thai).

Siangpror, P., Rawiworrakul, T., & Kaewboonchoo, O. (2017) Factors Correlated to Job Stress among Nurses in Specialised Cancer Hospitals, Central Region of Thailand. Journal of Health Science Research, 8(1), 17-27. (in Thai).

Thongkaeo, T. & Suppapitiporn, S. (2018). Stress in Workplace and its Related Factors among Registered Nurse at Outpatient Department of a Hospital in Bangkok. Chula Med Journal, 62(2), 197-209. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-13