ผลของการใช้โปรแกรมการละเล่นพื้นบ้านและกีฬาไทยเพื่อลดความเครียดของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดของผู้สูงอายุโดยใช้โปรแกรมการละเล่นพื้นบ้านและกีฬาไทยเพื่อลดความเครียดของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ชุดดังนี้ 1) แบบประเมินความเครียด (ST- 5) 2) โปรแกรมการละเล่นพื้นบ้านและกีฬาไทยเพื่อลดความเครียดของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเครียดของผู้สูงอายุก่อนการทดลองอยู่ในระดับมาก หลังทดลองครั้งที่ 4 ระดับความเครียดของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง และหลังทดลองครั้งที่ 8 ระดับความเครียดของผู้สูงอายุอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบระดับความเครียดของผู้สูงอายุก่อนและหลังการทดลองพบว่า ระดับความเครียดของผู้สูงอายุลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ก่อนเท่านั้น
References
Lazarus, R., & Folkman, S. (2000). Stress appraisal and coping. New York: Springer Publishing.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการดูแลทางด้านสังคมจิตใจของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมสุขภาพจิต. (2559). ศึกษาความเครียดของคนไทย. กรุงเทพฯ: บียอนด์พับลิสซิ่ง.
กรมสุขภาพจิต. (2558). แนวทางการใช้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน (คลินิกโรคเรื้อรัง) ฉบับปรับปรุง. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชนิตา ไกรเพชร. (2557). การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกาย เพื่อส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันการพลศึกษา.
ธนพล ถาวรศิลป์. (2565). ผลการจัดกิจกรรมนันทนาการด้านกีฬาภูมิปัญญาไทยที่มีต่อการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 13(1), 255-266.
Cohen, J. (1988). Statistics Power Analysis for the Behavioral Sciences. 2nd ed. New York: Lawrence Earlbaum Associates.
ธนพล ถาวรศิลป์. (2565). ผลการจัดกิจกรรมนันทนาการด้านกีฬาภูมิปัญญาไทยที่มีต่อการจัดการความเครียดของ ผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 13(1), 255-266.
ปาริชาติ ค้ำชู. (2561). ผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมนันทนาการกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดภูเก็ต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ภูเก็ต: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
ศุภางค์ นันตา. (2563). การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนากับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในตำบลแม่สูน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 40(3), 31-49.