ผลของโปรแกรมการจัดการภาวะเครียดของวัยทำงานในสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยหมาก ตำบลคำไหล อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

รัชนี สว่างเนตร

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการภาวะเครียดของวัยทำงานในสถานการณ์โควิด-19 ประชาชนพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยหมาก ตำบลคำไหล อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มทดลองจำนวน 100 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลสองครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระยะเวลาในการวิจัย 12 สัปดาห์ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน  3 ท่าน ค่าดรรชนีความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์และคำถาม (IOC) เท่ากับ 0.95 ความเชื่อมั่นของตัวแปร ด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired sample t – test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีระดับเครียดของวัยทำงานในสถานการณ์โควิด-19 อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.21, S.D. = 1.33) ซึ่งลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value < .05  คะแนนทัศนคติในการเผชิญสถานการณ์โควิค-19 อยู่ในระดับสูง ( = 25.41, S.D. = 5.38) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value < .05 คะแนนพฤติกรรมการจัดการความเครียดสถานการณ์โควิค-19 อยู่ในระดับสูง ( = 40.36, S.D. = 5.98) ซึ่งคะแนนเพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value < .05


ดังนั้นโปรแกรมจัดการภาวะเครียดของวัยทำงานในสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ความเครียดลดลง ทัศนคติในการเผชิญสถานการณ์โควิค-19 เพิ่มขึ้น และนำไปสู่การมีพฤติกรรมการจัดการความเครียดสถานการณ์โควิค-19 เพิ่มขึ้น จึงควรมีการขยายผลไปสู่กลุ่มวัยอื่น ๆ ในพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย