ผลของการฝึกวิ่งรูปแบบตัวแซดที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตซอลชาย โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

วริดา ผิวเวียง
วิภาดา สิมมา
อรทัย วรนาม
พันธวิศ กันญาบัตร
ธนวรรณพร ศรีเมือง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลและเปรียบเทียบผลของการฝึกวิ่งรูปแบบตัวแซดที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตซอลชาย โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ภายในกลุ่มก่อนและหลังการฝึก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตซอลชาย โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อายุระหว่าง 16-18 ปี เลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 4 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 1 ชั่วโมง คือ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ เวลา 16.30-17.30 น. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการฝึกวิ่งรูปแบบตัวแซด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบภายในกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการฝึก โดยใช้สถิติที (pair sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า1) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความคล่องแคล่วว่องไวของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.73 และหลังการฝึกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.98 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.33 ตามลำดับและ 2) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความคล่องแคล่วว่องไวก่อนการฝึกและหลังการฝึก พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า หลังการฝึกวิ่งรูปแบบตัวแซดนักกีฬาฟุตซอลชายมีความคล่องแคล่วว่องไวดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bompa, T. (1999). Periodization Training for Sports. IL: Human Kinetics.

Boonroen, P. (2019). Study results between Z and S pattern running training affecting agilities of football players. Master of Science Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University. (In Thai)

Ekwiriyakul, S., Makaje, N., Khaothin, T., Poonsawat, P., and Charoenwattana, S. (2018). The Study of Reactive Agility, Change of Direction Speed and Physical Fitness as Indicator of Performance in Basketball Players. Journal of Science and Technology, 7(3), 34-47. (In Thai)

Insuwanno. A. (2017). The Result of Blended Training Program Affected to Agility of Female Volleyball Players. Master of Education Thesis. Songkla: Prince of Songkla University. (In Thai)

Maivijit, W. (2006). Effects of Z and S running training on the agility of female futsal players. Master of Science Thesis. Bangkok Bangkok: Srinakharinwirot University. (In Thai)

Phonchiwin, C. (1991). Football. Bangkok: Siam Sport Printing. (In Thai)

Phromphui, B. (2002). Futsal teaching materials. Bangkok: M.P.P. (In Thai)

Pianchob, W. (2005). Principles and methods of teaching physical education. Bangkok: Thai Watthana Panich. (In Thai)

Ratchatranon, W. (2014). Social science research techniques. Bangkok: Kasetsart University. (In Thai)

Thachayla, M. (2018). Effects of a plyometric training program combined with SAQ training on the speed and agility of football athletes. Master of Education Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University. (In Thai)

Thongroj, M., Thammasakul, C., Hongsuwan, C., & Hengsawat, R. (2018). Creating an agility training program for futsal athletes. Ramkhamhaeng University Journal, 1(3), 75-85. (In Thai)

Wechaphaet, C., & Palawiwat, K. (1993). Physiology of exercise. Bangkok: Thamklom Printing. (In Thai)