ผลของการฝึกวิ่งด้วยแรงต้านจากร่มพาราชู้ตที่มีต่อความเร็วในการวิ่ง 30 เมตร ของนักฟุตบอลชาย

Main Article Content

ปรมัสณ์ อังกุลานนท์
ภาคิน สีเล
บัณฑิต ป้อมสุวรรณ
ภควัฒน์ อู่ใหม่
ธนากร ไข่มุสิก
ศิรประภา พานทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกวิ่งด้วยแรงต้านจากร่มพาราชู้ตที่มีต่อความเร็วในการวิ่งในระยะ      
30 เมตร ในนักฟุตบอลมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยเป็นนักฟุตบอล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม อายุ 19-25 ปี เพศชาย จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน ด้วยวิธีจับทีละคู่ โดยกลุ่มทดลองทำการฝึกวิ่งด้วยแรงต้านจากร่มพาราชู้ตร่วมกับการฝึกฟุตบอล เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ขณะที่กลุ่มควบคุมฝึกฟุตบอลตามโปรแกรมของทีมตามปกติ ทำการเก็บข้อมูลความเร็วในการวิ่ง 30 เมตร ก่อนและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความเร็วในการวิ่ง 30 เมตร ระหว่างก่อนและหลังการฝึกด้วยการทดสอบค่าที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการฝึกด้วยแรงต้านจากร่มพาราชู้ต 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีความเร็วในการวิ่ง 30 เมตร ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มทดลองมีความเร็วในการวิ่ง 30 เมตร ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการฝึกด้วยแรงต้านจากร่มพาราชู้ตสามารถพัฒนาความเร็วในการวิ่งของนักฟุตบอลมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแนะนำให้ผู้ฝึกสอนนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับนักกีฬาที่ต้องการสร้างสมรรถภาพทางด้านความเร็วหรือพัฒนาประสิทธิภาพในการวิ่งได้ดีขึ้นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ade, JD., Drust, B., Morgan, OJ., and Bradley, PS. (2021). Physiological characteristics and acute fatigue associated with position-specific speed endurance soccer drills: production vs maintenance training. Science and Medicine in Football, 5(1), 6–17.

Buchheit, M., Mendez-Villanueva, A., Simpson, BM., abd Bourdon, PC. (2010). Match running performance and fitness in youth soccer. International Journal of Sports Medicine, 31(11), 818-825.

Kusuma, KCA., Kardiawan, IKH., and Satyawan, IM. (2020). Comparison of Increased Running Speed Using Resistance Parachute and Ladder Assisted Training Methods. Proceedings of the 4th International Conference on Sports Sciences and Health (ICSSH 2020). Indonesia: Faculty of Sports Science, State University of Malang.

Kusuma, KCA., Kardiawan, IKH., and Satyawan, IM. (2021). Parachute resistance training: A method to improve the running speed of football players. Journal Sport Area, 6(1), 44-50.

Martinopoulou, K. (2011). The effects of resisted training using parachute on sprint performance, Biology of Exercise, 7(1), 7-23.

McNair, PJ., & Marshall, RN. (1994). Kinematic and kinetic parameters associated with running in different shoes. British Journal of Sports Medicine, 28(4), 256-260.

Myers, AM., Beam, NW., and Fakhoury, JD. (2017). Resistance training for children and adolescents. Translational Pediatrics, 6(3), 137-143.

Panascì, M., Di Gennaro, S., Ferrando, V., Filipas, L., Ruggeri, P., and Faelli, E. (2023). Efficacy of Resisted Sled Sprint Training Compared With Unresisted Sprint Training on Acceleration and Sprint Performance in Rugby Players: An 8-Week Randomized Controlled Trial. Int J Sports Physiol Perform, 18(10), 1189-1195.

Paulson, S., & Braun, WA. (2011). The Influence of Parachute-Resisted Sprinting on Running Mechanics in Collegiate Track Athletes. The Journal of Strength & Conditioning Research, 25(6), 1680-1685.

Rueangrit, S., Sukwhan, A., Prajongjai, V., Riansoi, Y., and Bangmek, N. (2023). Effects of nine square training on speed in 5m-10m-30m and agility in youth soccer athletes. Journal of Sports Science and Health Innovation, Rajabhat University Group of Thailand, 2(2), 24-35. (in Thai)

Srilamard, S., (2003). Principles of sports training for sports coaching. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)