แรงจูงในการเล่นกีฬาโปโลน้ำของนักกีฬาโปโลน้ำทีมชาติไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเล่นกีฬาโปโลน้ำของนักกีฬาโปโลน้ำทีมชาติไทยระหว่างเพศชายและหญิง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักกีฬาโปโลน้ำทีมชาติไทย ที่เข้าร่วมการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 32 จำนวน 26 คน เป็นเพศชาย 13 คน และเพศหญิง 13 คน จากวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแรงจูงใจในการเล่นกีฬาโปโลน้ำที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน) ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า แรงจูงใจในการเล่นกีฬาโปโลน้ำของนักกีฬาโปโลน้ำทีมชาติไทยทั้งเพศชายและเพศหญิง มีแรงจูงใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยพบว่าในเพศชาย มีแรงจูงใจ ด้านความรักความถนัดและความสนใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (4.56±0.40) และแรงจูงใจด้านที่น้อยที่สุด คือ ด้านรายได้และผลประโยชน์ (3.61±0.75) ส่วนแรงจูงใจในเพศหญิง พบว่ามีแรงจูงใจ ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมากที่สุด (4.31±0.60) และแรงจูงใจด้านที่น้อยที่สุด คือ ด้านสุขภาพ (4.03±0.62) และจากการเปรียบเทียบผลของแรงจูงใจในการเล่นกีฬาโปโลน้ำของนักกีฬาโปโลน้ำทีมชาติไทย ระหว่างเพศชายและเพศหญิง โดยรวมพบว่า มีแรงจูงใจในการเล่นกีฬาโปโลน้ำ ไม่แตกต่างกัน (t=-0.63, p =0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักกีฬาโปโลน้ำทีมชาติไทยเพศชายและเพศหญิง มีแรงจูงใจในการเล่นกีฬา โปโลน้ำ แตกต่างกันในด้านรายได้และผลประโยชน์ (t=-2.29, p =0.03) โดยพบว่า ค่าเฉลี่ยของแรงจูงใจด้านรายได้และผลประโยชน์ ของเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย ส่วนแรงจูงใจด้านความรัก ความถนัดและความสนใจ (t=1.17, p =0.25) ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้อง (t=-0.14, p =0.89) ด้านสุขภาพ (t=-0.42, p =0.67) และด้านเกียรติยศชื่อเสียง (t=-1.49, p =0.15) พบว่ามีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ก่อนเท่านั้น
References
Channiyom, R., Makpan, K., Phoosuwan, M., and Bangmek, N. (2023). Motivation or selecting to play bowling games of Thai national bowling players. Journal of Sports Science and Health Innovation, Rajabhat University Group of Thailand, 2(2), 47-58. (In Thai)
Chin, NS., Khoo, S., and Low, WY. (2012). Self-determination and goal orientation in track and field. Journal of human kinetics, 33, 151.
Chootan, L., Terason, S., and Santibudtr, N. (2017). Athletes’ Motivation to compete in beach handball in the 33rd national youth sport competition (AD 2017). Journal of Kasesart Education Review, 33(2). 129-134. (In Thai)
Colly, A., Berman, E., and Van-Milligen. L. (2005). Age and gender differences in young people’s perception of sport participants. Journal of applied social psychology, 23, 193-206.
Frederick, CM., & Ryan, RM. (1993). Differences in motivation for sport and exercise and their relations with participation and mental health. Journal of sport behavior, 16(3), 124-146.
Iamphuchuai, S., Buppawong, N., and Kemarat, S. (2018). Motivation in handball playing of handball players at institute of physical education ministry of tourism and sports. Academic Journal Institute of Physical Education, 10(3), 1-12. (In Thai)
Kaewchuay, S. (2558). Motivation of youth for choosing the athletics. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, 4(2), 1-6. (In Thai)
Karnjanakit, S., & Chuntaruthai, S. (1999). Sport Psychology. Bangkok: Chulalongkorn University. (In Thai)
Khanarsa, N., Prathumchai, T., Kamlek, T., and Srimuang, T. (2023). Motivation for choosing to play football among male students mahawichanukul school under 18, mueang maha sarakham district maha sarakham province. Journal of Sports Science and Health Innovation, Rajabhat University Group of Thailand, 2(3), 15-24. (In Thai)
Kwanboonjan, S. (1996). Sport Psychology. Bangkok: Watana Panich. (In Thai)
Muangnapho, P. (1991). Sport Psychology. Bangkok: Srinakarinwirot University. (In Thai)
Pasuwan, K., Dinthong, P., Kaimusik, T., Chinapong, S., and Bangmek, N. (2023). Motivation to playe-sports on the Chandrakasem Rajabhat University team. Journal of Sports Science and Health Innovation, Rajabhat University Group of Thailand, 2(1), 54-63. (In Thai)
Phoklang. C. (1989). The scientific basic of coaching. Bangkok: Odeonstore. (In Thai)
Pimpanit, P. & Runcharoen. T. (2017). The sport motivation of thailand national hockey team. Journal of Education Graduate Studies Research KKU, 11(2), 41-47. (In Thai)
Promjamorn, T. (2013). Motivation affecting the decision to play football in satid game. Master of Education Thesis. Bangkok: Srinakarinwirot University. (In Thai)
Raso, C. (2012). Job performance motivation of personnel at Nakhon sawan Rajabhat university. Master of Education Thesis. Bangkok: Srinakarinwirot University. (In Thai)
Teo, EW., Khoo, S., Wong, R., Wee, EH., Lim, BH., and Rengasamy, SS. (2015). Intrinsic and extrinsic motivation among adolescent ten-pin bowlers in Kuala Lumpur, Malaysia. Journal of human kinetics, 45(1), 241-251.
Thailand Swimming Association. (2023). Announcing the names of water polo for the 32nd SEA Games [Online]. Retrieved February 15, 2024, from: http://swimming.or.th/Index/DetailNews?NewsId=20567&Type=1 (In Thai)
Ungpakomkaew. N. (2023). Women and sports. Station thai [Online]. Retrieved February 14, 2024, from: https://www.station-thai.com/idea/19074/ (In Thai)
Weinberg, RS., & Gould, D. (1999). Foundations of sport and exercise psychology. 2nd edition. IL: Human Kinetics.
Wilson, M., DeJoy, D., Vandenberg, RJ., and Richardson, HA. (2004). Work characteristics and employee health and well-being: Test of a model of healthy work organization. Journal of Occupational and Organizational Psychology, 77(4), 565-588.
Wongrattana, C. (2007). Statistics for Research. Bangkok: Chulalongkorn University. (In Thai)