ความสัมพันธ์ของระดับกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งของผู้เล่นเกมออนไลน์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งของผู้เล่นเกมออนไลน์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน 293 คน จากการสุ่มแบบเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามกิจกรรมทางกายระดับสากล พัฒนาโดยองค์การอนามัยโลก และแบบสอบถามเรื่องเกมออนไลน์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละและการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมที่เล่นเกมออนไลน์ มีกิจกรรมทางกายเพียงพอร้อยละ 45.73 มีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอร้อยละ 30.03 มีพฤติกรรมเนือยนิ่งร้อยละ 50.85 ไม่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งร้อยละ 24.91 ผู้ที่ไม่เล่นเกมออนไลน์ มีกิจกรรมทางกายเพียงพอร้อยละ 11.94 มีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอร้อยละ 12.28 มีพฤติกรรมเนือยนิ่งร้อยละ 13.99 ไม่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งร้อยละ 10.23 นอกจากนี้ยังพบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างระดับกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งของผู้เล่นเกมออนไลน์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การเล่นเกมออนไลน์ ไม่ได้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มีกิจกรรมทางกายที่น้อยและเกิดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ก่อนเท่านั้น
References
Boontho, C. (2011). The behavior and influence of playing game of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Independent study of Information System. Pathum Thani: Rajamangala University of Technology Thanyaburi. (in Thai)
Bull, FC., Maslin, TS., Armstrong, T. (2009). Global physical activity questionnaire (GPAQ): nine country reliability and validity study. J Phys Act Health, 6(6), 790-804.
Girdwichai, P., Mahawaleerat, S., Eaimrittikrai, C., Cheungsirakulvit, T., and Boontavee, S. (2022). The effects of playing E-Sport game and sedentary behavior inadolescents. The Journal of Pacific Institute of Management Science (Humanities and Social Science), 8(2), 263-272. (in Thai)
Hamilton, MT., Hamilton, DG., and Zderic, TW. (2007). Role of low energy expenditure and sitting in obesity, metabolic syndrome, type 2 diabetes, and cardiovascular disease. American Diabetes Association, 56(11), 2655-67.
Kaleta, D., Makowiec-Dabrowska, T., Dziankowska-Zaborszczyk, E., and Jegier, A. (2006). Physical activity and self-perceived health status. Int J Occup Med Environ Health. 19, 61–9.
Liangruenrom, N., Topothai, T., Topothai, C., et al. (2017). Do Thai People Meet Recommended Physical Activity Level?: The 2015 National Health and Welfare Survey. Journal of Health Systems Research, 11(2), 205-220. (in Thai)
Nicoll, M. (2022). How E-Sports Players Can Stay Fit and Avoid a Sedentary Lifestyle [Online]. Retrieved February 10, 2024, from: https://www.simulationmagazine.com/how-e-sports-players-can-stay-fit-and-avoid-a-sedentary-lifestyle/.
Pasuwan, K., Dinthong, P., Kaimusik, T., Chinapong, S., and Bangmek, N. (2023). Motivation to play e-sports on the Chandrakasem Rajabhat University team. Journal of Sports Science and Health Innovation, Rajabhat University Group of Thailand, 2(1), 54-63. (in Thai)
Pinto, N. (2022). Gaming behavior of bangkok teens. Journal of Journalism, Thammasat University, 15(1), 157-197. (in Thai)
Reun-arom, T. (2022). Relationship between the 24-h movement guideline compliance and body composition of lower secondary school students. Master of Education Thesis. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Soonthornnond, C. (2019). Opinions of Chulalongkorn university students towards e-sport. Master of Science Thesis. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Thailand Physical Activity Knowledge Development Centre, Institute for Population and Social Research, and Thai Health Promotion Foundation. (2020). Regenerating physical activity in Thailand after COVID-19 pandemic. Bangkok: Parbpin Company Limited. (in Thai)
Trisri, S., Woraurai, S., Supatchayabhumi, T., and Lamainil, S. (2022). A study of preventing and reducing the effects of online gaming addiction among adolescent group. Bangkok: Faculty of Medicine, Chulalongkorn University. (in Thai)
World Health Organization. (2010). Global Recommendations on Physical Activity for Health. Switzerland: World Health Organization.