ความเข้มแข็งทางจิตใจ : กรณีศึกษานักกีฬาฟุตบอลในจังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มแข็งทางจิตใจของนักฟุตบอลในจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักฟุตบอลในจังหวัดอุตรดิตถ์จำนวน 25 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยที่ทุกคนสมัครใจในการเข้าร่วม รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยด้านความเข้มแข็งทางจิตใจอยู่ในระดับสูงทุกด้าน โดยเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความมุ่งมั่นต่อเป้าหมาย (22.44) ด้านการตระหนักถึงสิ่งที่ดีทีสุดในตนเอง (22.35) ด้านความพากเพียรอุตสาหะ (22.23) ด้านอัตมโนทัศน์ด้านจิตใจ (22.11) ด้านศักยภาพ (22.11) ด้านความรู้สึกถึงคุณค่าของงาน (22.11) ด้านการรวบรวมความตั้งใจเฉพาะงานที่ทำอยู่ (21.87) ด้านความรู้สึกในทางบวกเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง (21.87) ด้านความเชื่อมั่นในความสามารถเฉพาะอย่างของตนเอง (21.75) ด้านความคิดในแง่บวก (21.72) ด้านความคุ้นเคยกับงาน (21.39) และด้านการจัดการกับความเครียดให้ลดน้อยลง (20.88)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ก่อนเท่านั้น
References
กรมพลศึกษา. (2556). จิตวิทยาการกีฬา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
Loehr. (1986). Mental toughness training for sports : Achieving athletic excellence. Lexington, MA: Stephen
Greene.
ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์ นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร และวิชัย จุลวนิชย์พงษ์. (2553). การพัฒนาแบบสอบถามความเข้มแข็มทางจิตใจ
ฉบับภาษาไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา, 7(2), 1-14.
นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร วิมลมาศ ประชากุล ชูศักดิ์ พัฒนะมนตรี ฉัตรกมล สิงห์น้อย และอนุสรณ์ มนตรี. (2554). ความเข้มแข็ง
ทางจิตใจของนักกีฬาเซปักตระกร้อหญิงที่มีความสามารถสูง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 11(2), 274-287.
วิทวัส ศรีโนยางค์. (2552). การศึกษาความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาทีมชาติไทยประเภททีมและประเภทบุคคลที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ณ จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
กุลธิดา เธียรผาติ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างเข้มแข็งทางจิตใจกับความฉลาดทางอารมณ์ของนักกีฬารักบี้ฟุตบอล (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฉัตรกลม สิงห์น้อย. (2556). จิตวิทยาการกีฬา (เอกสารประกอบการสอน). ชลบุรี: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา.
Bandura, A. (1997). Social Learning Theory. New York: General Learning Press.
Maslow, AH. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper.
Corey, G. (2004). Theory & Practice of Group Counseling. 6th Ed. Belmont, CA: Thomson Brook/Cole.
สฤษฎิเดช สุมงคล วิมลมาศ ประชากุล และพรพล พิมพาพร. (2562). ความเข้มแข็งทางจิตใจและสภาวะลื่นไหลของนักกีฬา เทควันโดประเภทต่อสู้. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนากา, 45(2), 221-231.
Line, D., Stein, R., Rune, G., and Rune, H., (2017). Mental toughness in elite and sub-elite female soccer players. Journal of Applied Sports Sciences, 29(1), 77-85.