ผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการเคลื่อนที่แบบหลายทิศทางที่มีต่อสมรรถภาพกล้ามเนื้อขา และความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาวอลเลย์บอลชาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการเคลื่อนที่แบบหลายทิศทางที่มีต่อสมรรถภาพ กล้ามเนื้อขา ด้านแรงเหยียดขา การยืนกระโดดสูง การยืนกระโดดไกล และการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวของอิลลินอยส์ ในนักกีฬาวอลเลย์บอลชาย ประชากร คือ นักกีฬาวอลเลย์บอลชาย อายุ 15 – 18 ปี จำนวน 45 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*power ได้จำนวน 19 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองด้วยการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวของอิลลินอยส์ เลือกเอาเฉพาะลำดับที่ 16 – 34 เข้าร่วมโปรแกรมฝึกการเคลื่อนที่แบบหลายทิศทางระยะ 6 สัปดาห์ เก็บข้อมูลก่อนทดลองกับหลังการทดลองด้วยการวัดแรงเหยียดขา ยืนกระโดดสูง ยืนกระโดดไกล และการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวของอิลลินอยส์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t) กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย พบว่า นักวอลเลย์บอลชายมีสมรรถภาพกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และรวมถึงแรงเหยียดขา การยืนกระโดดสูง การยืนกระโดดไกล และความคล่องแคล่วว่องไวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมการฝึกเคลื่อนที่แบบหลายทิศทางระยะเวลา 6 สัปดาห์สามารถเพิ่มสมรรถภาพกล้ามเนื้อขาและเพิ่มความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาวอลเลย์บอลชายได้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ก่อนเท่านั้น
References
สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย. (2565). กติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล ฉบับปี พ.ศ. 2564 – 2567 (2021 – 2024).กรุงเทพฯ: สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย.
The FIVB (Fédération Internationale de Volleyball. (2022). Coaches Manual Level II. Retrieved 1 May 2022, from http://www.fivb.org/EN/TechnicalCoach/Technical_Library.asp
Mack, S. (2013). What Is the Speed of a Volleyball?. Retrieved 1 May 2022, from www.sportsrec.com/1005634-average-speed-volleyball-spike-men.html
Lindahl, K. (2014). The Physics of Volleyball. Physics 211x F09. Retrieved 1 May 2022, from http://ffden2.phys.uaf.edu/webproj/211_fall_2014/Kelsey_Lindahl/Lindahl_Kelsey/1%20Home.html
Nelson, RC. (2013). Follow-Up Investigation of the Velocity of the Volleyball Spike. Research Quarterly. American Association for Health, Physical Education and Recreation, 35(1), 83-84.
Federation International de Volleyball. (2016). Volleyball, Picture of the Game – 2016 Report. Retrieved 1 May 2022, from www.fivb.org/EN/Volleyball/Documents/FIVB_2016_Picture_of_the_Game_report_VB.pdf
Kandel, ER., Schwartz, JH. and Jessell, TM,. (2000). Principles of neural Science. 4th ed. New York: McGraw-Hill.
Semmler, JG. (2002). Motor unit synchronization and neuromuscular performance. Exerc Sport Sci Rev, 30(1), 8-14.
Barrett, RS., Cronin, NJ., Lichtwark, GA., Mills, PM., and Carty, CP. (2012). Adaptive recovery responses to repeated forward loss of balance in older adults. Journal of Biomechanics, 45(1), 183-187.
O’Shea, P. (2000). Quantum Strength Fitness II (Gaining the Winning Edge). Pattrick’s Books.
Johnson, BL., & Nelson, JK. (1986). Practical measurements for evaluation in physical education. New York: Macmilllan.
สุพิตร สมาหิโต. (2559). คู่มือแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย สำหรับประชาชนไทย อายุ 19-59 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). คู่มือการปฏิบัติง่าย (Work Manual) กระบวนการการบริการการ ทดสอบสมรรถภาพทางกายของสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา. กรุงเทพฯ: กระทรงการท่องเที่ยวและกีฬา.
สุคนธ์ อนุนิวัฒน์ ทศพล ธานี และสาธิน ประจัญบาน. (2562). ผลของการฝึกด้วย ที อาร์ เอ็กซ์ และการฝึกด้วยน้ำหนักของร่างกายที่มีต่อความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อ. สืบค้น 3 เมษายน 2565, จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tahper/article/view/243049/164668
อภิสิทธิ์ กาญสอาด. (2562). ผลการฝึกด้วยโปรแกรมการกระโดดที่มีผลต่อพลังกล้ามเนื้อขาของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สามารถ ฮวบสวรรค์ และวุฒิชัย ประภากิตติรัตน. (2558). การพัฒนาโปรแกรมการฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา สำหรับนักกีฬาวอลเลย์บอลชายอายุไม่เกิน 18 ปี. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15 (น.1489 – 1497). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Schmidtbleicher, D. (1992). Training for power events. In: Strength and Power in Sport. London: Blackwell Scientific.
เสาวลักษณ์ ศิริปัญญา. (2550). ผลของการฝึกเชิงซ้อนแบบผสมผสานการฝึกด้วยน้ำหนักกับการเคลื่อนที่ในลักษณะแรงระเบิดที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อในนักกีฬาเซปักตะกร้อหญิงทีมชาติไทย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจฉรา ช่วยจันทร์. (2550). ผลของการฝึกวิ่งรูปแบบตัว M ที่มีต่อการพัฒนาความคล่องแคล่วล่องไวของผู้เล่นกีฬาเทนนิส (ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
นิกร สนธิ์จันทร์. (2560). ผลของการฝึกโปรแกรมความเร็ว ความคล่องแคล่วและความว่องไว (เอสเอคิว) แบบประยุกต์ ที่มีต่อความเร็วในการวิ่งเบสของนักกีฬาซอฟท์บอล (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Wang, G., Zi, Y., Li, B., Su, S., Sun, L., Wang, F., Ren, C., and Liu, Y. (2022). The Effect of Physical Exercise on Fundamental Movement Skills and Physical Fitness among Preschool Children: Study Protocol for a Cluster-Randomized Controlled Trial. Int J Environ Res Public Health, 19(10), 6331. doi: 10.3390/ijerph19106331.