ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืด ในคลินิกโรคหืด ของโรงพยาบาลปราสาท อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

สุปราณี ชินเชษฐ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืดในคลินิกโรคหืดโรงพยาบาลปราสาท อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 122 คน ซึ่งได้จากการคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel   เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ของปัจจัยโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า


     1) กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและเพศหญิงจำนวน 61 คน เท่ากัน อายุของผู้ป่วยโรคหืดเฉลี่ย 50.39 ปี สูงสุด 70 ปี ต่ำสุด 15 ปี   มีสถานภาพสมรสร้อยละ 74.80 มีการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 52.20 และมีอาชีพเกษตรกรร้อยละ 59.84 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 7,932.38 บาท สูงสุด 80,000 บาท ต่ำสุดคือไม่มีรายได้ ระยะเวลาเฉลี่ยการป่วยเป็นโรคหืดอยู่ที่ 7.74 ปี สูงสุด 42 ปีและต่ำสุด 1 ปี มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.48, SD = 0.425) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน    มีด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง 2 ด้าน ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรคหืด ( = 3.86, SD = 0.649) การรับรู้ประโยชน์ของการใช้ยารักษาโรคหืด ( = 3.75, SD = 0.398) ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคหืด ( = 3.61, SD = 0.510) และการรับรู้อุปสรรคของการใช้ยารักษาโรคหืด ( = 2.71, SD = 0.801) พฤติกรรมการใช้ยาโดยรวมอยู่ในระดับสูง ( = 3.87, SD = 0.388)   เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง 4 ด้าน ได้แก่ ใช้ยาถูกคน ( = 4.32, SD = 0.693) ใช้ยาถูกขนาด ( = 4.03, SD = 0.810)  ใช้ยาถูกวิธี ( = 4.13, SD = 0.564) และใช้ยาถูกเวลา       ( = 3.86, SD = 0.541) ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยระดับปานกลาง ได้แก่ ใช้ยาถูกชนิด ( = 3.42, SD = 0.693) และความสม่ำเสมอในการใช้ยา ( = 3.48, SD = 0.522)


     2) ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืด พบว่า แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคหืดและการรับรู้อุปสรรคของการใช้ยารักษาโรคหืดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 (r=0.429), (r=0.438) ตามลำดับ ส่วนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคหืดและการรับรู้ประโยชน์ของการใช้ยารักษาโรคหืดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (r=0.227), (r=0.211) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2558). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย และคณะ. (2560). แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทยสำหรับผู้ใหญ่ พ.ศ. 2560. นนทบุรี: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์.

World Health Organization. (2003). Chronic respiratory diseases. Retrieved 20 June 2022, from

http://www.who.int/respiratory/asthma/e

ทัชชภร หมื่นนิพัฒ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหืดในผู้ป่วยโรคหืด ที่มารับบริการในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

สุรเดช สำราญจิตต์. (2558). พฤติกรรมสุขภาพทางสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชัญญานุช ไพรวงษ์ วรัญญู สัตยวงศ์ทิพย์ และภูนรินทร์ สีกุด. (2560). การศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(1), 107-116.

กัญญา จันทร์ใจ ธีรภรณ์ จันทร์ดา และอรสา พันธ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคเอส แอล อี. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 19(1), 60-72.

ชลธิชา โชคเฉลิมวงษ์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันของผู้ปกครองเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี ที่มีอุบัติการณ์ซ้ำซ้อน (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ธมนพรรษ บุญเจริญ วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย และจริยาวัตร คมพยัคฆ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานยาในทหารที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 29(3), 50-56.

Danial, AC. & Veiga, EV. (2013). Factors that interfere the medication compliance in hypertensive patients. Einstein, 11(3), 331-337.

Best, WJ. (1997). Research in Education. Boston MA. : Allyn and Bacon.

Rovinelli, RJ. & Hambleton, RK. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49-60.

Rosenstock, MI., Strecher, VJ. & Becker, MH. (1988). Social learning theory and health belief model. Health Education Quarterly, 15(2), 75-138.