แรงจูงใจในการเลือกเล่นกีฬาฟุตบอลของนักเรียนชายโรงเรียนมหาวิชานุกูล รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเลือกเล่นกีฬาฟุตบอลของนักเรียนชายโรงเรียนมหาวิชานุกูล รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายโรงเรียนมหาวิชานุกูล รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อศึกษาแรงจูงใจในด้านสุขภาพอนามัย ด้านสังคม ด้านความต้องการ ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการเลือกเล่นกีฬาฟุตบอลของนักเรียนชายโรงเรียนมหาวิชานุกูล รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ก่อนเท่านั้น
References
ประโยค สุทธิสง่า. (2541). แบบทดสอบมาตรฐานทักษะฟุตบอล. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สุปราณี ขวัญบุญจันทร์. (2544). จิตวิทยาการกีฬา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
เทเวศร์ พิริยะพฤนท์. (2529). หลักการฝึกว่ายน้ำ. กรุงเทพมหานคร: สยามบรรณาธิการพิมพ์.
สิปปนนท์ เกตุทัต. (2538). การศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ทนงศักดิ์ ลิ่มเนี่ยว และประภาส มันตะสูตร. (2561). แรงจูงใจในการเป็นนักกีฬากรีฑาตัวแทนจังหวัดสตูล.
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 13(2), 75-84.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2557). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธร สุนทรายุทธ. (2553). การบริหารจัดการเชิงจิตวิทยา หลักการ การประยุกต และกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ.
อังคณา บุญเสม. (2550). แรงจูงใจในการเลือกเล่นฟุตบอลของนักกีฬาหญิงในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 34 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จาตุรนต์ ลิ่มหัน และภาคภูมิ รัตนโรจนากุล. (2562). แรงจูงใจในการตัดสินใจเล่นกีฬาฟุตซอลอาชีพ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 45(1), 1-13.
พิชิต เมืองนาโพธิ์. (2534). เอกสารประกอบการสอน พล 437 จิตวิทยาการกีฬา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
คุณัตว์ พิธพรชัยกุล. (2548). การพัฒนาและวิเคราะห์องค์ประกอบของแบบสอบถามแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา ฉบับภาษาไทย สำหรับนักกีฬาระดับอุดมศึกษา. วารสารคณะพลศึกษา, 8(1-2), 100-112.
Maslow, AH. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper & Row.
เพ็ญพรรณ มูลมงคล. (2548). แรงจูงใจในการเลือกเล่นกีฬายกน้ำหนักของนักกีฬาโรงเรียนกีฬา ปีการศึกษา 2547 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.