การวิเคราะห์ทักษะกีฬาวอลเลย์บอลที่ส่งผลต่อการทำคะแนน กรณีศึกษา: นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะที่ส่งผลต่อการได้มาซึ่งคะแนนและการเสียคะแนนของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ในรายการ 2018 FIVB Volleyball Women’s World Championship กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยในที่เข้าร่วมการแข่งขันในรายการ 2018 FIVB Volleyball Women’s World Championship จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ วิดีโอบันทึกการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลจากรายการ 2018 FIVB Volleyball Women’s World Championship ที่เผยแพร่เป็นสาธารณะผ่านเว็ปไซต์ YouTube โดยสหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ (FIVB) รวมทั้งสิ้น 1 รายการ จำนวน 9 เกมส์การแข่งขัน และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใช้ในการวิเคราะห์สมรรถนะทางการกีฬา Kinovea รุ่น 0.8.27 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของทักษะการตบได้คะแนน 486 คะแนน ค่าเฉลี่ย 34.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.96 ทักษะการบล็อกได้คะแนน 59 คะแนน ค่าเฉลี่ย 4.21 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.97 ทักษะการเสิร์ฟได้คะแนน 49 คะแนน ค่าเฉลี่ย 3.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.54 ทักษะการเซตได้คะแนน 8 คะแนน ค่าเฉลี่ย 0.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.78 และได้คะแนนจากผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามฟาวล์หรือทำเสียเองโดยได้คะแนน 176 คะแนน ค่าเฉลี่ย 12.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.09 ส่วนทักษะที่ส่งผลต่อการเสียคะแนนมากที่สุด คือ การตบติดบล็อกและฟาวล์เสียคะแนน 100 คะแนน ค่าเฉลี่ย 7.14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.48 การตบออกข้างสนามเสียคะแนน 59 คะแนน ค่าเฉลี่ย 4.21 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.96 การเสิร์ฟเสียเสียคะแนน 75 คะแนน ค่าเฉลี่ย 5.36 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.55 การรับบอลเสิร์ฟไม่ได้เสียคะแนน 47 คะแนน ค่าเฉลี่ย 3.36 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.54 และการเซตบอล 2 จังหวะเสียคะแนน 10 คะแนน ค่าเฉลี่ย 0.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.62
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ก่อนเท่านั้น
References
อนุสรา หัสกุล ณัฐสุดา ดีขุนทด วรเมธ ประจงใจ และณัฐธิดา บังเมฆ. (2565). การวิเคราะห์ทักษะกีฬาแบดมินตันที่ส่งผลต่อการทำคะแนนกรณีศึกษา: นักกีฬาแบดมินตันประเภทหญิงเดี่ยวทีมชาติไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย, 1(1), 39-49.
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2557). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
โรงเรียนโพธิ์คีรีราชศึกษา. (2562). วอลเลย์บอล. ปัตตานี: โรงเรียนโพธิ์คีรีราชศึกษา.
อภิศักดิ์ ขำสุข. (2544). การฝึกสอนวอลเลย์บอล. กรุงเทพมหานคร: รั้วเขียว.
ปริญญา สีเกตุ. (2564). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาวอลเลย์บอลด้านความแม่นยำสำหรับนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (ปริญญานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อวยชัย นุ่มประไพ. (2551). ระดับทักษะวอลเลย์บอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองอ่างทอง ปีการศึกษา 2550 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นภชา จั่นจุ้ย อัจสรา เฉาเฉลิม และจุทามาศ บัตรเจริญ. (2560). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาวอลเลย์บอลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีจิตรา จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 8(1), 159-168.
เจษฎา ตาลเพชร. (2554). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาบาสเกตบอลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สังคม พื้นชมพู. (2547). การสร้างแบบวัดภาคปฏิบัติกีฬาวอลเลย์บอล กลุ่มสาระเรียนรู้ สุขศึกษา และพลศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อรพิมล กิตติธีรโสภณ. (2552). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาวอลเลย์บอลสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กฤตยา ศุภมิตร และชัชชัย โกมารทัต. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบกลยุทธ์การตบในกีฬาวอลเลย์บอลหญิงของทีมที่ประสบความสำเร็จกับทีมที่ไม่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2012. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 16(2), 1-13.
ก.รวีวุฒิ ระงับเหตุ. (2565). ระบบการวิเคราะห์สมรรถนะในกีฬาวอลเลย์บอล: ตัวชี้วัดสมรรถนะกีฬาวอลเลย์บอล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 14(3), 13-23.