ความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามที่มีต่อการแข่งขันฟุตบอลเดอะแมตช์แบงค็อกเซ็นจูรี่ คัพ ณ สนามราชมังคลากีฬาสถานระหว่าง สโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด พบกับ สโมสรลิเวอร์พูล

Main Article Content

อัสนีศักดิ์ มณีกัญย์
วีรภัทร ไถวศิลป์
ชัยวัฒน์ หนูจิตร์
ธนวรรณพร ศรีเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามที่มีต่อการแข่งขันฟุตบอลเดอะแมตช์แบงค็อกเซ็นจูรี่ คัพ ณ สนามราชมังคลากีฬาสถานระหว่างสโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด พบกับสโมสรลิเวอร์พูล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 375 คน ที่ศึกษาอยู่ในภาคการศึกษา 1/2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา ในด้านความรู้สึก ด้านการรับรู้สื่อ ด้านความเหมาะสม ด้านคุณภาพ ด้านความพร้อม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามที่มีต่อการแข่งขันฟุตบอลเดอะแมตช์แบงค็อกเซ็นจูรี่ คัพ ณ สนามราชมังคลากีฬาสถานระหว่างสโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด พบกับสโมสรลิเวอร์พูล ในด้านความรู้สึก ด้านการรับรู้สื่อ ด้านความเหมาะสม ด้านคุณภาพ ด้านความพร้อม โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ธนวรรณพร ศรีเมือง, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

-

References

พงษ์พิทยา สมุทรกลิน และอาชวิทธิ์ เจิงกลิ่นจันทน์. (2563). พฤติกรรมการเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก กรณีศึกษาสโมสรทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 21(3), 379-390.

เตชิต อภินันท์ธรรม. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเชียร์สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ดของแฟนบอลคนไทย(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Krejcie, RV., & Morgan, DW. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2552). การวัดผลการศึกษาและสถิติเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2557). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Tax-definition. (2565). ความรู้สึก. สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2565, จาก https://th.tax-definition.org/83424-feeling

Becker, MH. (1974). The health belief model and personal heath behavior. United States: Slack Thorofare.

วทัญญู ลีวงศ์วรกุล. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการติดตามกีฬาฟุตบอลไทยของคนไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศุภกิจ จีนศาตร และอภิสิทธิ์ พิกุลทอง. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของแฟนบอลที่มีต่อสโมสรฟุตบอลชลบุรี(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัยวัฒน์ ชลานันต์. (2558). อิทธิพลภาพลักษณ์สโมสรฟุตบอลและความนิยมในภาพลักษณ์นักกีฬาฟุตบอลที่มีชื่อเสียงส่งผลต่อพฤติกรรมการติดตามรับชมการแข่งขันฟุตบอลไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ลักษมี สารบรรณ. (2565). คุณภาพ (Quality) คืออะไร. สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2565, จากhttps://www.gotoknow.org/posts/189885

น้ำลิน เทียมแก้ว. (2561). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2555 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พลากร มะโนรัตน์ ธงชัย เจริญทรัพย์มณี และผาณิต บิลมาศ. (2554). ความคิดเห็นของผู้ชมที่มีต่อการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 5(1), 123-136.

โสภาพรรณ สุริยะมณ. (2561). การวิเคราะห์ความพร้อมในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาสนับสนุน: กรณีศึกษาหน่วยงานเลขานุการผู้บริหาร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

นิตยา ปินตาวงค์. (2559). ความพร้อมของนักศึกษาที่มีผลต่อแนวคิดประชาคมอาเซียนของนักศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ลําปาง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นบบงกช นฤชาญภัทรัฐ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสนามฟุตบอลให้เช่าของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.