ผลของการฝึกตาราง 9 ช่องที่มีต่อความเร็วในการวิ่งระยะ 5 เมตร 10 เมตร 30 เมตร และความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตบอลเยาวชน

Main Article Content

สิทธิศักดิ์ เรืองฤทธิ์
อภิทัญ สุขหวาน
วรเมธ ประจงใจ
ยุทธนา เรียนสร้อย
ณัฐธิดา บังเมฆ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกด้วยตาราง 9 ช่อง ที่มีต่อความเร็วในการวิ่งระยะ 5 เมตร 10 เมตร 30 เมตร และความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตบอลเยาวชนชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครนักกีฬาฟุตบอลชาย ทีมโรงเรียนปทุมคงคา รุ่นอายุ      ไม่เกิน 15 ปี จำนวน 30 คน ทำการฝึกตาราง 9 ช่อง 2 วันต่อสัปดาห์เป็นเวลา 8 สัปดาห์ แล้วทำการทดสอบความเร็วในการวิ่งระยะ 5 เมตร 10 เมตร 30 เมตรและทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวด้วยวิธี Illinois Test ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบมีการวัดซ้ำ กำหนดความมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05


     ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของความเร็วในการวิ่งระยะ 5 เมตร 10 เมตร 30 เมตร ของกลุ่มตัวอย่างที่ฝึกด้วยโปรแกรมตาราง 9 ช่อง ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และพบว่าค่าเฉลี่ยของความคล่องแคล่วว่องไว ก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จึงสรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกตาราง 9 ช่องที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีผลต่อการพัฒนาความเร็วของนักกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชนในการวิ่งระยะ 5 เมตร 10 เมตร 30 เมตรในการฝึกอย่างน้อย 4 สัปดาห์และเพิ่มขึ้นมากที่สุดใน 8 สัปดาห์ และมีผลต่อความแคล่วคล่องว่องไวในสัปดาห์ที่ 8

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพลศึกษา. (2560). การทดสอบสมรรถภาพทางกายภาคสนามกีฬาฟุตบอล-ฟุตซอล วอลเลย์บอล แบดมินตัน. กรุงเทพฯ: ซัน แพคเกจจิ้ง (2014) จำกัด.

Rienzi, E., Drust, B., Reilly, T., Carter, JEXL., and Martin, A. (2000). Investigation of anthropometric and work-rate profiles of elite South American international soccer players. Journal of sports medicine and physical fitness, 40(2), 162-169.

Michailidis, Y., Motsanos, N., and Metaxas, T. (2022). The effects of a repeated sprint ability program on youth soccer players’ physical performance. Trends in Sport Sciences, 29(2). 57-63.

อัซฟาร์ ไทยสนิท ถาวรินทร รักษ์บำรุง นัทธี บุญจันทร์ และนพดล นิ่มสุวรรณ. (2563). ผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบ CAS ที่มีต่อทักษะการเคลื่อนที่ในกีฬาฟุตบอลของเยาวชน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 31(3), 149-161.

กัญญรัตน์ ชะลอรักษ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบสมรรถภาพทางกายกับความสามารถในการเลี้ยงบอล ในนักกีฬาฟุตบอลระดับอาชีพ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

França, C., Gouveia, É., Caldeira, R., Marques, A., Martins, J., Lopes, H., Henriques, R., and Ihle, A. (2022). Speed and agility predictors among adolescent male football players. International journal of environmental research and public health, 19(5), 2856-2866.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2552). ตาราง 9 ช่องกับการพัฒนาสมอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สินธนา กอปปี้เซ็นเตอร์.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2548). ความเป็นมาของตารางเก้าช่องกับการพัฒนาสมอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วรศิษฎ์ ศรีบุรินทร์ และจรัสศรี ศรีโภคา (2559). ผลของการฝึกด้วยตารางเก้าช่องและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักศึกษา. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 13 (น. 1493-1501). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นฤเดช วีระสุข. (2563). ผลของการฝึกตาราง 9 ช่องที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักศึกษาชมรมกีฬาดาบไทย สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สุพรรณบุรี: มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี.

สมชาย ปัณฑิโต. (2559). ผลของการใช้โปรแกรมการฝึกตารางเก้าช่องที่มีผลต่อความเร็วในการวิ่งระยะทาง 50 เมตร ของนักกรีฑาวิ่งระยะสั้น (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิรอมลี มะกาเจ. (2557). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 0230527 การทดสอบทางสรีรวิทยาสำหรับนักกีฬา. นครปฐม: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สนธยา สีละมาด. (2547). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ade, JD., Drust, B., Morgan, OJ., and Bradley, PS. (2021). Physiological characteristics and acute fatigue associated with position-specific speed endurance soccer drills: production vs maintenance training. Science and Medicine in Football, 5(1), 6–17.

Komarudin, K., Suharjana, S., Yudanto, Y., and Kusuma, MNH. (2022). The different influence of speed, agility and aerobic capacity toward soccer skills of youth player. Pedagogy of Physical Culture and Sports, 26(6), 381-390.

ชูศักดิ์ เวชแพศย์ และกันยา ปาละวิวัธน์. (2536). สรีรวิทยาของการออกกำลังกาย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ธรรมสารการพิมพ์.

ทวีศักดิ์ หนูสุวรรณ. (2557). ผลของการฝึกตาราง 9 ช่องที่มีต่อความคล่องตัวของนักกีฬาเซปักตะกร้อชาย. วารสารวิชชา, 33(2), 34-45