ความเครียด และคุณภาพชีวิตในสถานการณ์ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

Main Article Content

อธิวัฒน์ สายทอง
วารี นันทสิงห์
ธนิตา พรมชุลี
ประภัสสร สัมพันธ์พงษ์
อุทัยทิพย์ ลินไธสง
ชัชพงศ์ ประทุมทอง
วนิดา สายทอง

บทคัดย่อ

     สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 ทำให้นักศึกษาต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนเป็นแบบออนไลน์และการดำเนินชีวิตทำให้เกิดความเครียดกับนักศึกษาได้ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและคุณภาพชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและคุณภาพชีวิตของนักศึกษาวิทยาศาสตร์การกีฬา ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 จำนวน 290 คน โดยการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก  เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดระดับความเครียดสวนปรุง และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษามีความเครียดอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 42.1 รองลงมามีความเครียดอยู่ในระดับระดับรุนแรง ร้อยละ 41.7  2) นักศึกษามีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับกลาง ร้อยละ 57.2 รองลงมามีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับระดับดี ร้อยละ 41.4   3) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียด และคุณภาพชีวิตของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา พบว่า ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิต (r= - 0.162, p = 0.007)


     สรุปผลการศึกษา นักศึกษาที่มีระดับความเครียดเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับต่ำลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2563. (2563, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 69ง.

Moawad, RA. (2020). Online learning during the COVID-1 9 pandemic and academic stress in

university students. Revista Romaneasca Pentru Educatie Multidimensionala, 12(1), 100-107.

Pender, NJ. (1996). Health Promotion in Nursing Practice. 3rdedition. Connecticut: Appleton & Lange.

สิทธิเดช นิลสัมฤทธิ์ และคณะ. (2548). คุณภาพชีวิตของคนไทย: ผลจากการดำเนินการของรัฐภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

รุงฤดี อุสาหะ และคณะ. (2563). คุณภาพชีวิตนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง. วารสาร มฉก.วิชาการ, 24(1), 54-62.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือแบบประเมินคัดกรองโรคจิตและปัญหาสุขภาพจิต. สืบค้น 25 เมษายน 2565, จาก http://1.179.139.229/upload/2021-02-17-1010.pdf

กรมสุขภาพจิต. (2547). คู่มือคลายเครียด (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: วงศ์กมลโปรดักชั่น.

จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และวิทยา เหมพันธ์. (2556). ความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัย วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 1(1), 42-58.

โรจกร ลือมงคล. (2565). ความเครียดในการเรียนออนไลน์ ช่วงการระบาดของโรคโควิด-19: กรณีศึกษาในนักศึกษามัธยมศึกษาของโรงเรียนคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัย 9, 16(3), 772-783.

พรนภา พัฒนวิทยากุล และคณะ. (2564). ความเครียดระหว่างการเรียนออนไลน์ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ของนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยของแก่น.วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 29(4), 273-85.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ผลกระทบของ COVID-19 ต่อความยากจน ภาวะสังคมไทย ไตรมาสสาม (จุลสาร). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ชฎาภา ประเสริฐทรง จรินวรรณ แสงหิรัญรัตนา และพรชนา กลัดแก้ว. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์จากสถานการณ์โควิค-19 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 15(1), 14-28

สุรินทร์ มีลาภล้น และเยาวลักษณ์ มีบุญมาก. (2565). ความสุขและคุณภาพชีวิตในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 5(1), 67-78.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ จุรีย์ นฤมิตเลิศ และอนุชา พรมกันยา. (2563). คุณภาพชีวิตนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 13(4), 49-63.

วรยุทธ ศรีศักดา และยุรพร ศุทธรัตน์. (2565). ผลของความเครียดที่มีต่อคุณภาพชีวิตของคน Generation Y ที่ทำงานกับบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร, 1(3), 31-46.

มัณฑนา ดำรงศักดิ์ และธีรนุช ห้านิรัติศัย. (2555). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของพนักงานรักษาความปลอดภัย. วารสารพยาบาลสาร, 39(3), 14-24.

Vagg, PR. & Spielberger, CD. (1998). Occupational stress: measuring job pressure and organizational support in the workplace. Journal of Occupational health Psychology, 3(4), 294-305.

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. (2565). ข้อมูลนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2565 (เอกสารอัดสำเนา). ศรีสะเกษ: กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.