เกี่ยวกับวารสาร

กำหนดออก     

ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม - มิถุนายน, กรกฎาคม -ธันวาคม)

 

หลักเกณฑ์และคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุข วชิระภูเก็ต เป็นวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์วารสารวิชาการระดับชาติ จัดพิมพ์เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจ ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ตลอดจนเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาการ บทความที่จะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุข วชิระภูเก็ต จะต้องไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงวารสารใด ๆ พร้อมทั้งได้รับการพิจารณาจากผู้ประเมินอิสระ (Peer Reviewers) ก่อน เพื่อให้วารสารมีคุณภาพในระดับสากล และนำไปอ้างอิงได้ การเตรียมต้นฉบับที่จะมาลงตีพิมพ์ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

ขอบเขตการรับตีพิมพ์บทความ

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุข วชิระภูเก็ต เป็นวารสารสาขาวิทยาศาสตร์และสาธารณสุขครอบคลุมวิทยาการ ดังนี้ วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ การพยาบาล วิทยาศาสตร์ประยุกต์ พฤติกรรมสุขภาพ อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมพิษวิทยาสาธารณสุขชุมชนทันตสาธารณสุขเภสัชสาธารณสุขและสังคมศาสตร์ทางการแพทย์

การเตรียมต้นฉบับ

  1. ภาษา เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และชื่อบัญญัติตามหลักของ ราชบัณฑิตยสถาน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาอังกฤษในข้อความ ยกเว้นกรณีจำเป็นให้เขียนคำศัพท์ภาษาไทยตามด้วยวงเล็บ ภาษาอังกฤษ ให้ใช้ตัวเล็กทั้งหมดยกเว้นชื่อเฉพาะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรใหญ่บทความส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษควรให้ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะส่งต้นฉบับ
  2. การพิมพ์ ให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด (Word) ผู้เสนอผลงานจะต้องพิมพ์และส่งต้นฉบับในรูปแบบ ของแฟ้มข้อมูลเป็น “.doc” หรือ “.docx” (MS Word) เท่านั้น รูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK โดยจัดหน้ากระดาษขนาด B5 (18.2 ซ.ม. x 7 ซ.ม.) ตั้งค่าหน้ากระดาษสำหรับการพิมพ์ห่างจากขอบกระดาษทุกด้านด้านละ 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร) จัดหนึ่งคอลัมน์สำหรับทุกบทความ
  3. จำนวนหน้า บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ บทความวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือ ไม่ควรเกิน 15 หน้า

การเรียงลำดับเนื้อหา

  1. ชื่อเรื่อง (Title) ควรสั้น กะทัดรัด และสื่อเป้าหมายหลัก ไม่ใช้คำย่อ ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ     
  1. ผู้ประพันธ์ (Author) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุหน่วยงานหรือสถาบันสังกัด และ E-mail address ของผู้นิพนธ์ เพื่อกองบรรณาธิการใช้ติดต่อเกี่ยวกับต้นฉบับและบทความที่ตีพิมพ์หากมีผู้ประพันธ์หลายคนก็ต้อง ระบุข้อมูลของผู้ประพันธ์ทุกคน
  2. บทคัดย่อ (Abstract) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นเนื้อความย่อที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย เป็นใจความสำคัญของทั้งบทความโดยเรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหา ดังนี้ บทนำ วัตถุประสงค์ เนื้อหา อย่างต่อเนื่องกัน ไม่ควรเกิน 15 บรรทัด หรือ ความยาวไม่เกิน 250 คำ และ ไม่ควรใช้คำย่อที่ไม่เป็นสากล
  3. คำสำคัญ (keywords) ให้ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใส่ไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา ไม่เกิน 5 คำ
  4. บทนำ (Introduction) เป็นส่วนของเนื้อหาที่บอกความเป็นมา ความสำคัญ ประเด็นโต้แย้งทางวิชาการ เหตุผลนำไปสู่การนำเสนอ วัตถุประสงค์ของการนำเสนอบทความวิชาการ เป็นต้น
  5. เนื้อหา (Content) เป็นใจความสำคัญของบทความโดยอาจแบ่งเป็นหลายหัวข้อก็ได้
  6. บทสรุป (Conclusion) เป็นส่วนสรุปทั้งบทความโดยอาจรวมไปถึงทิ้งประเด็นต่อยอดการศึกษาในครั้งต่อไป
  7. เอกสารอ้างอิง (Reference) สำหรับการพิมพ์เอกสารอ้างอิงมีหลักการทั่วไป คือ เอกสารอ้างอิงต้องเป็นที่ถูกตีพิมพ์และได้รับการยอมรับทางวิชาการ
  8. ชื่อตาราง ชื่อแผนภูมิ ชื่อแผนภาพ ชื่อรูปภาพ หรือชื่อวัตถุอื่น ให้เขียนชื่อเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ (English)