ประสิทธิศักย์ของสารสกัดหยาบจากใบกระท่อม Mitragyna speciosa Korth. ต่อการควบคุมลูกน้ำยุงลายบ้าน Aedes aegypti (L.)

ผู้แต่ง

  • พรพิณ เผ่าพันธ์แปลก
  • ฑิฆัมพร ห่วงแสง มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • กีรติ ตันเรือน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • วิษณุ ธงไชย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • วิโรจน์ ลิขิตตระกูลวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • พิสิษฐ์ พูลประเสริฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

สารสกัดใบกระท่อม, ลูกน้ำยุงลายบ้าน, การทดสอบความเป็นพิษ

บทคัดย่อ

             ยุงลายบ้านเป็นยุงพาหะหลักที่นำโรคไข้เลือดออกซึ่งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย ทั้งนี้ได้พยายามมีการประยุกต์ใช้สารเคมีจากสารสกัดจากพืชมาเป็นทางเลือกในการควบคุมยุงพาหะตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน   การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากใบกระท่อมที่สกัดด้วย  เฮกเซน   เมทานอล และเอทานอลต่อลูกน้ำยุงลายบ้านในวัยที่  3-4   ด้วยวิธีหยดสารสะลายที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน (0 125 250 500 และ 1,000 มิลลิกรัม/ลิตร)  และอัตราการตายที่ 24   48  และ 72 ชั่วโมง  พบว่า สารสกัดจากใบกระท่อมที่สกัดด้วยเฮกเซน  มีค่า LC50 ต่อลูกน้ำยุงลายบ้าน ที่ 24  48 และ 72 ชั่วโมงภายหลังการทดสอบ เท่ากับ  1,879.22  2,014.22  และ 104.03 มิลลิกรัม/ลิตร  ในขณะที่สารสกัดด้วยเมทานอลมีค่า  LC50   เท่ากับ   404.66  81.14  และ 79.00 มิลลิกรัม/ลิตร และสารสกัดด้วยเอทานอลมีค่า  LC50   เท่ากับ   17,747.43  111.83 และ 82.55 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ ทั้งนี้พบว่า อัตราการตายของลูกน้ำยุงจากสารสกัดใบกระท่อมด้วยเฮกเซนในแต่ละความเข้มข้นโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงที่สุด  และจะเห็นได้ว่า สารสกัดที่สกัดด้วยตัวทำลายทั้งสามสารให้ผลการตายของลูกน้ำยุงลายบ้าน ที่ไม่แตกต่างกันในทุก ๆ ชั่วโมงของการทดสอบ (p ≥ 0.05) โดยสารสกัดจากใบกระท่อมในครั้งนี้ มีแนวโน้มที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันควบคุมลูกน้ำยุงลายบ้านรวมทั้งแมลงอื่น ๆ   ที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขในพื้นที่เสี่ยงต่อไปได้

References

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อน้ำโดยยุงลาย สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

ดุษิต โพธิ์ทอง, นันทิดา ค าศรี และ พิสิษฐ์ พูลประเสริฐ. (2563). การทดสอบความไวยุงลายต่อสารเคมีในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย. PSRU Journal of Science and Technology. 5(2), 1-13.

ดวงแก้ว ปัญญาภู, สุเมธีนามเกิด, นิตาภา อันชัย และ กุลศิริยศเสถียร (2559). กระท่อม : สมุนไพรหรือยาเสพติด. วารสารการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก. 14(3), 242-256.

นิดา นันทกรปรีดา, สมฤทัย ในแสน, กีรติ ตันเรือน, พิสิษฐ์ พูลประเสริฐ, มนตรา ศรีษะแย้ม, ดุษิต โพธิ์ทอง และยุวดี ตรงต่อกิจ. (2560). ฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ของสารสกัดเมล็ดน้อยหน่า (Annona squamosa) ที่หมักด้วยน้ำส้มควันไม้. PSRU Journal of Science and Technology. 2(3), 33-40.

ยุวดี สีนวนข า, กาญจนา เกตุอ่อน, กีรติ ตันเรือน, ทิวธวัฒ นาพิรุณ, วิษณุ ธงไชย, ณัฐดนัย ลิขิตตระการ และ พิสิษฐ์ พูลประเสริฐ. (2562). ประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบกระท่อม Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC. ต่อการควบคุมลูกน้ำยุงลายบ้าน Aedes aegypti (L.). วารสารผลิตกรรมการเกษตร. 1(3), 21-31.

อภิวัฏ ธวัชสิน, อุษาวดี ถาวระ, เย็นจิตร เตชะด ารงสิน, วิชัย คงงามสุข, จักรวาล ชมพูศรี, จิตติ จันทร์แสง และ สุพล เป้าศรีวงษ์. (2546). รายงานการวิจัย “การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรป้องกันกำจัดยุง แมลงวัน และแมลงสาป”. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

Abbott, W.S. (1925). A method of computing the effectiveness of an insecticide. Journal of ECONOMIC ENTOMOLOGY. 18(2), 265-267.

Finney. D.J. (1971). Probit Analysis. (3rd ed). Cambridge: Cambridge University Press.

Ghosh, A., N. Chowdhury, and G. Chandra. (2012). Plant extracts as potential mosquito larvicides. The Indian Journal of Medical Research. 135(5), 581-598.

IBM Crop. (2017). IBM SPSS Statistics for Windows, Version 25.0. Armonk. New York: IBM Crop.

Jantan, I.,Ping, W.O., Visuvalingam, S.D. and Ahmad, N.W. 2003. Larvicidal activity of the essential oils and methanol extracts of Malaysian plants on Aedes aegypti. Pharmaceutical Biology. 41(4), 234-236.

Jalil, A.A., Zaki, Z.M., Hasan, M.K.N., Jin, C.B., Ramli, M.D.C., Rerang, T.L., Mohamed, A., Russelan, H., Ayob, M.K. and Li, A.R. (2021). Screening of selected local plant extracts for their repellent activity against Aedesalbopictus mosquitoes. Asian Journal of Pharmacognosy. 4(3), 30-37.

Rashid, R.A., Zulkifli, N.F., Rashid, R.A., btRosli, S.F., Sulaiman, S.H. and Ahmad, N.W. (2012). Effects of Ketum extract on blowfly Chrysomya megacephala development and detection of mitragynine in larvae sample. 2012 IEEE SYMPOSIUM ON BUSINESS, ENGINEERING AND INDUSTRIAL APPLICATIONS. 337-341.

Sharma, A. and McCurdy, C.R. (2021) Assessing the therapeutic potential and toxicity of Mitragyna speciosa in opioid use disorder. Expert Opinion on Drug Metabolism & Toxicology. 17(3), 255-257.

Silapanuntakul, S., Keanjoom, R., Pandii, W., Boonchuen, S. and Sombatsiri, K. (2016). Efficacy of Thai neem oil against Aedes aegypti (L.) larvae. The Southeast Asian journal of tropical medicine and public health. 47(3), 410–415.

Tanruean, K., Napiroon, T., Phusing, S., Torres, J.R.D., Villanueva, P.M. and Poolprasert, P., (2019). Larvicidal effects of Paederia pilifera Hook.f. leaf and Cuscuta reflexa Roxb. stem extracts against the dengue vector mosquito Aedes aegypti Linn. The Journal of

Applied Science. 18(1), 31-38.

Thongporn, C. and Poolprasert, P. (2015). Phytochemical screening and Larvicidal activity of Millingtonia hortensis L.f. flower extract against Aedes aegypti Linn. Kasetsart Journal (Natural Science). 49(4), 597-605.

Todd, D. A., Kellogg, J. J., Wallace, E. D., Khin, M., Flores-Bocanegra, L., Tanna, R. S., McIntosh, S.,

Raja, H. A., Graf, T. N., Hemby, S. E., Paine, M. F., Oberlies, N. H. and Cech, N. B. (2020). Chemical composition and biological effects of kratom (Mitragyna speciosa): In vitro studies with implications for efficacy and drug interactions. Scientific reports. 10(1),19158.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-02-2023