ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ที่ฝากครรภ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสองยาง จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • ประภาพร คำแสนราช วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • สิทธิพร ทองสอดแสง วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • ปภาดา หอมจันทร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • เจษฎาพร สุพสอน วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

ทารกน้ำหนักตัวน้อย

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคลอดทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยในมารดาที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสองยาง จังหวัดตาก   กลุ่มตัวอย่าง   เป็นกลุ่มมารดา   ที่มาฝากครรภ์   และคลอดทารกน้ำหนักน้อย จำนวน 86 ราย  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามปัจจัยเสี่ยงมารดา  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ร้อยละ  ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง  เพศหญิง  มีอายุน้อยกว่า  20 ปี  (ร้อยละ  51.2)  ประกอบอาชีพทำไร่/ทำสวน (ร้อยละ 58.1) มีรายได้มากกว่า 50,000 บาทต่อปี (ร้อยละ 61.6) ไม่ได้เรียนหนังสือ  (ร้อยละ  59.3)  นับถือศาสนาพุทธ  (ร้อยละ  95.3)   ประวัติการคลอดบุตร  1 ครั้ง (ร้อยละ  54.7) ไม่เคยมีประวัติการแท้งบุตร  (ร้อยละ  81.4)  มีน้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์น้อยกว่า 45  กิโลกรัม  (ร้อยละ  69.8)  ฝากครรภ์ขณะอายุครรภ์ครั้งแรก  น้อยกว่า  12  สัปดาห์  (ร้อยละ   75.6)   มีการฝากครรภ์น้อยกว่า  4  ครั้ง   (ร้อยละ  53.5)   มีอายุครรภ์ขณะคลอด น้อยกว่า 36 สัปดาห์ (ร้อยละ 54.7)

References

กุลสตรี วรรธนะไพสิฐ และยิ่งขวัญ อยู่รัตน์. (2562). การศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพฯ. วารสารวิชาการกระทรวงสาธารณสุข. 29(1), 100-110.

นงลักษณ์ ทองโต. (2553). ปัจจัยเสี่ยงต่อการให้ก้าเนิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในประเทศไทย. วารสารประชากร. 3(1), 53-68.

ประคอง ตั้งสกุล. (2554). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักตัวของทารกแรกเกิดต่้ากว่าเกณฑ์มาตรฐาน.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา. 6(2), 113-122.

ปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพขณะตั้งครรภ์กับน้ำหนักตัวทารกแรกเกิด. วารสารพยาบาลสกลนคร. 19(1), 1-11.

ภัทรวดี อัญชลีชไมกร. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 3(1), 71-79.

วรัณญา เก้าเอี้ยน. (2563). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงของมารดาที่มีผลต่อการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยใน โรงพยาบาลห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 34(3), 63-72.

สินชัย รองเดช และอนันต์ อัครสุวรรณกุล. (2556). ปัจจัยทีมีผลต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อยของหญิงฝากครรภ์ในโรงพยาบาลย่านตาขาว จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 22(1), 113-121.

สมเกียรติ พยุหเสนารักษ์และโสพิศ ปุรินทราภิบาล. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อยของหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ในโรงพยาบาลวังวิเศษ จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 29(3), 497-507.

อรพินท์ กอสนาน. (2556). ผลต่อการเกิดทารกน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลบางน ้าเปรี ยว. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 30(4), 287-299.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-02-2023