ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสุขสมรรถนะของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน

ผู้แต่ง

  • วรัญญา ทองใบ
  • พงษ์เอก สุขใส
  • ขจรศักดิ์ รุ่นประพันธ์

คำสำคัญ:

โปรแกรมออกกำลังกายหนักสลับเบา, สุขสมรรถนะ, ภาวะน้ำหนักเกิน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสุขสมรรถนะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น  ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน  ก่อนและหลังการใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึก ษา 2563  โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร  จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 30 คน โดยออกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม  ได้แก่ กลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน ที่ได้รับการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบห นักสลับเบาและกลุ่มควบคุม จำนวน  15 คน ที่ได้รับการฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายในชี วิตประจำวันตามปกติ โดยทำการใช้โปรแกรมฝึกสัปดาห์ละ  3 วัน เป็นระยะเวลา  8 สัปดาห์ และทำการเก็บข้อมูลตัวแปรด้านสุขสมรรถนะ และทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนและหลั งการใช้โปรแกรม หลังสิ้นสุดการทดลองผู้วิจัยนำผลมาวิเคราะห์ตามระเบียบวิธีทางสถิติโด ยทำการ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐานเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทด สอบค่าที (Independent t-test) และภายในกลุ่มด้วยการทดสอบค่าที (Dependent pa- ired t-test) ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการใช้โปรแกรม 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลอง มีการพัฒ นาผลการทดสอบสุขสมรรถนะทุกตัวแปรเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญที่ระ ดับ .05 และมีค่าดัชนีมวลกาย อัตราส่วนรอบเอว/สะโพก ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความอ่อนตัว ดันพื้น 30 วินาที ลุก-นั่ง 60 วินาที ยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาทีเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   สรุปได้ว่า โปรแกรมการออกกำลังกายแบบหนักสลับเบา มีผลต่อการพัฒนาสุขสมรรถนะ และยังสามารถลดค่าดัชนีมวลกายผู้ที่มีภาวะน้ำห นักเกินให้อยู่เกณฑ์สมส่วน

References

กรมพลศึกษา. (2555). คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย. (2558). แนวทางการส่งเสริมการออกก าลังกายส าหรับศูนย์สุขภาพชุมชนนนทบุรี: กองออกก าลังกายเพื่อสุขภาพ.

กฤษดา ศิรามพุช และคณะ. (2560). การสะสมของไขมันใต้ผิวหนัง. วารสารบัณฑิตวิจัย. 2560.

เจริญ กระบวนรัตน์ (2545). หลักการและเทคนิคการฝึกกรีฑา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). รูปแบบการออกก าลังกายแบบหนักสลับเบา.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา: SCIENCE OF COACHING. กรุงเทพฯ : บริษัทสินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์ จำกัด.

ณัฐพล ประภารัตน์ (2552). ผลของการเต้นแอโรบิกแบบมวยไทยที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เข้าร่วม โปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบมวยไทย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ.

ถาวร กมุทศรี. (2562). วิทยาศาสตร์การกีฬา. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

วราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์. (2550). ปัจจัยที่ท าให้เกิดภาวะน าหนักเกิน. กรุงเทพฯ : บริษัท สินธนาก๊อปปี้ เซ็นเตอร์ จำกัด.

วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2541). สมรรถภาพทางการเพื่อสุขภาพ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และ สันทนาการ. 33(1).

วิทยา กุลสมบูรณ์. (2559). เด็กอ้วนทั่วโลกทะลุ 22 ล้านคน ไทยเล็งคุมโฆษณาขนม. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

วิภาดา พ่วงพี, ณัฐิกา เพ็งลี, และ วิชาญ มะวิญธร. (2562). ผลของโปรแกรมการฝึกแบบวงจรโดยใช้แอโรบิกแบบหนักสลับเบาเป็นฐานที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชายอ้วน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการ. 45(2), 167-181.

สว่างจิต แซ่โง้ว และถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์. (2552) ผลการฝึกโปรแกรมการออกก าลังกายแบบวงจรที่มีต่อสุขสมรรถนะของเด็กที่มีภาวะน าหนักเกิน. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจการมีกิจกรรมทางกายของเด็ก และเยาวชนไทย ปี 2559. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ กรีน แอปเปิ้ล กราฟฟิก พริ้นติ้ง จำกัด.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). การสร้างเสริมสุขภาพด้วยการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์การกีฬา. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุพิตร สมาหิโต. (2548). แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพส าหรับเด็กไทย อายุ 7 – 8 ปี. พี.เอส.ปริ้น: นนทบุรี.

สุพิตร สมาหิโต. (2549). การสร้างแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ สำหรับเด็กไทย อายุ7 - 18 ปี. รายงานการวิจัย, พี.เอส.ปริ้นท์, นนทบุรี.

สุรัตน์ โคมินทร์.(2550). ปัจจัยด้านพฤติกรรมสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพส าหรับเด็กไทย.พี.เอส. ปริ้น: นนทบุรี.

Bompa, T. O., &Haff, G. G. (2009). Periodization: Theory and methodology of training: Human Kinetics Publishers. Freyssin, C., Verkindt, C., Prieur, F., Benaich, P., Maunier, S., & Blanc, P. (2016). Cardiac Rehabilitation in chronic heart failure: effect of an 8-week, high intensity interval training versus continuous training. Arch Phys Med Rehabil, 93(8), 1359-1364.

Hunter, G. R., Weinsier, R. L., Bamman, M. M., & Larson, D. E. (2012). A role for high intensity exercise on energy balance and weight control. Int J Obes Relat Metab Disord, 22(6), 489-493.

Kamutsri, M. J, Little, J. P., Macdonald, M. J., & Hawley., A. (2012). Physiological adaptations to low-volume, high-intensity interval training in health and disease. J Physiol, 590 (Pt 5), 1077-1084.

Kelso, T. (2005). The interval training manual: 520+ interval running workouts for all sports and abilities: Coaches Choice Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-02-2023