ผลการใช้โปรแกรมสุขศึกษาป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงบ้านแม่คำตลาด อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
ความรู้, โรคความดันโลหิตสูง, โปรแกรมสุขศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมสุขศึกษา ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของ กลุ่มเสี่ยงบ้านแม่คำตลาด ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง 24 คน ได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงโดยคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ระยะเวลาให้โปรแกรมสุขศึกษา 4 สัปดาห์ วัดความรู้ก่อน-หลังด้วยแบบทดสอบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง หลังทดลองใช้โปรแกรมสุขศึกษาสูงกว่า ก่อนที่ได้รับโปรแกรมสุขศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)
References
กรมควบคุมโรค. (2558). รายงานประจำปีสำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์องค์การสังเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมอ์.
ขนิษฐา ทองหยอด. (2543). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมสาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยมหิดล.
เพ็ญศรี สุพิมล. (2552). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงอายุ 35-59 ปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขอาพ บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมชาติ โลจายะ. (2544). ตาราโรคหัวใจและหลอดเลือด. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร.
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2556). สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงของประเทศไทย พ.ศ.2555–2556. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักระบาดวิทยา. (2551). แนวทางการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงและหัวใจขาดเลือด. http:/epid.moph.go.th/NCDwe2/chronic/chronicSurv47701.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.