ความปลอดภัยในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานก่อสร้างระบบจำหน่าย กรณีศึกษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอโคกสำโรง

ผู้แต่ง

  • ภิญโญ สุโรจนานนท์
  • ธีรพัฒน์ อินทร์ธรรม วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • กุลสตรี ไชยพิมพ์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

ประเมินความเสี่ยง, อุบัติเหตุ, ความเสี่ยง, ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

             การวิจัยในคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  วิเคราะห์หามาตรฐานวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย    และถ่ายทอดความรู้กับ   ผู้ปฏิบัติงานก่อสร้าง    โดยทำการศึกษา   แล้วทำการประเมินความเสี่ยง   เพื่อเลือกกลุ่มประชากร   หลังจากการประเมินความเสี่ยงแล้ว   ได้กลุ่มตัวอย่าง  1  ทีม  3  งานย่อย  คือ  งานติดตั้งอุปกรณ์หัวเสา งานพาดสายไฟฟ้า  และงานขนย้ายเสาไฟฟ้า  รวมทั้งสิ้น  15  คน   โดยศึกษาข้อมูลเบื้องต้น  เกี่ยวกับผู้ปฏิบัติงานก่อสร้าง การเจ็บป่วยและอันตรายจากการทำงาน  การสำรวจสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน   การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในงานก่อสร้าง  ที่ศึกษาโดยการสังเกตการณ์   แบบมีส่วนร่วม    ด้านพฤติกรรมในการทำงาน    การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก   และทำความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหา  ทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  ใช้รูปแบบการเรียนรู้  และการแก้ปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  เพื่อให้ได้แนวทางและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขสภาพปัญหาหรืออันตรายที่เกิดจากการทำงาน  จากนั้นติดตามผลการเรียนรู้ และประเมินผลการดำเนินการเพื่อหาส่วนที่ต้องปรับปรุงให้เหมาะสม
            ผลการศึกษา  พบว่าผู้ปฏิบัติงานก่อสร้าง  มีความมั่นใจในการปฏิบัติงานตามหน้าที่  จึงปฏิบัติงาน   ด้วยความเคยชิน   หรือตามประสบการณ์   ในบางครั้ง   จะชอบการทำงานที่ท้าทายและมีความเสี่ยง  แทนที่จะใช้เครื่องมือ  เครื่องทุ่นแรง และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล  สาเหตุเพราะผู้ปฏิบัติงานก่อสร้าง  ล้วนแต่ปฏิบัติงานมาเป็นเวลานาน  จึงไม่ให้ความสนใจเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเท่าที่ควร   อีกทั้งปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม  จึงมีอาการเจ็บป่วย  ที่เกิดจากการทำงาน   เช่น  ปวดต้นคอ  ปวดไหล ปวดหลัง  ปวดเอว  ปวดขา  เป็นต้น  เกิดปัญหากับสุขภาพตา   คือ  อาการปวดตา  ตาพร่า  และเกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ    จากการปฏิบัติงานขึ้นเป็นประจำ    เช่น   โดนของมีคมบาด ถูกกระแทกจากของแข็ง  เป็นต้น
            จากการวิจัยยังพบอีกว่า  สาเหตุที่สำคัญของปัญหาความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานก่อสร้าง  คือ การบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยที่เป็นรูปธรรม มาตรการเก่ียวกับการป้องอุบัติเหตุในการทำงาน

References

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2552). คู่มือการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน. กรุงเทพฯ: หจก. บางกอกบล็อก.

จตุรส ต้อนรับ. (2560). การจัดการความปลอดภัยในการก่อสร้างอาคารโรงงานอุตสาหกรรม. https://eresearch.siam.edu/wp-content/uploads/2019/07/M.Eng-2016-IS-Safety-Management-in-theConstruction-of-Industrial-Buildings-compressed.pd.

เฉลิมชัย ชวลิตนิธิกุล. (2549). ปรัชญาและแนวคิดเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักการปลอดภัยในการท างานงาน หน่วยที่ 1-8 พิมพ์ครั้งที่ 12 (น. 1-33). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชัย สอนพรหม (2555). การศึกษาทัศนคติของคนงานก่อสร้างต่อสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุใน อุตสาหกรรมก่อสร้าง: กรณีศึกษา บริษัท เอส ดับบลิว ที เทคโนโลยี แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิศวกรรมโยธา ส านักวิชาวิศวกรรมศาสตร์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, วิภารัตน์ โพธิ์ขีและสุดปรารถนา จารุกขมูล. (2560). การประเมินความเสี่ยงในคนงานก่อสร้าง: กรณีศึกษาบริษัทก่อสร้างที่พักอาศัย. ศรีนครินทร์เวชสาร. 32(1), 30-37.

ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ร่าง) คู่มือการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://www.shecu.chula.ac.th/data/boards/ 61/RISK.pdf.

อรัญ ขวัญปาน และชนะกานต์ พงศาสนองกุล. (2555). ความปลอดภัยจากการปฏิบัติงานของช่างซ่อมบำรุงมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เอกชัย ตรีทอง และอภิชาต ประสิทธิ์สม. (2561). การประเมินความเสี่ยงในการดำเนินงานโครงการก่อสร้างภายใต้ การกำกับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต. 8(2), 227-248.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-02-2023