ความรู้และพฤติกรรมตามหลักสุขาภิบาลอาหารของผู้ปรุงอาหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1

ผู้แต่ง

  • ณัฐชา สักกะวัน
  • พลอยไพลิน ทองแก้ว
  • กาญจนา ปินตาคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สุเวช พิมน้ำเย็น วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

ความรู้, พฤติกรรม, สุขาภิบาลอาหาร, ผู้ปรุงอาหาร

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรม  ตามหลักสุขาภิบาลอาหารของผู้ปรุงอาหาร  ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย  เขต  1   จำนวน  78  คน  กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนขนาดของโรงเรียนจำนวน  34 โรงเรียน  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความรู้และพฤติกรรม  ตามหลักสุขาภิบาลอาหารของผู้ปรุงอาหาร  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า    ผู้ปรุงอาหารส่วนใหญ่   ร้อยละ  92.30    มีความรู้หลักสุขาภิบาลอาหาร   ระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมตามหลักสุขาภิบาลอาหาร อยู่ในระดับดี  (gif.latex?\bar{x}±S.D. = 3.92±0.12) ผลการศึกษาครั้งนี้    สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน   สำหรับการควบคุมดูแลผู้ปรุงอาหารให้ปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนต่อไป

References

กภัสสร รัตนมณี. (2558). การศึกษาความรู้และการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารในโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาโภชนศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กรมอนามัย สำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการด าเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม: สำนักพิมพ์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กองส่งเสริมการมีงานทำกรมการจัดหางาน. (2555). นิยามของพ่อครัวแม่ครัว. https://www.jobnorththailand.com.

คณะทำงานเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร. (2549). เกณฑ์มาตรฐานงานสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานประสานและอำนวยการธนาคารสมอง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ชวันลักษณ์ ไทยทรงธรรม. (2548). การศึกษาความรู้ และการปฏิบัติตัวตามหลักสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารในแผงลอยจำหน่ายอาหาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาโภชนศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2543). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พี.เอ็น.การพิมพ์.

บุญส่ง ศรีลาวัณย์. (2549). ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบการจ าหน่าย

อาหารในร้านอาหารและแผงลอยอ าเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. (2561). ข้อมูลสารสนเทศโรงเรียน. เชียงราย: ผู้แต่ง.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี. (2558). สถิติงานระบาดวิทยาและข่าวกรอง. ลพบุรี: กลุ่มงานโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี.

สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2562). โรคอาหารเป็นพิษ .http://www.boe.moph.go.th/fact/Food_Poisoning.htm.

อมราวดี อุทัยนิล. (2549). ความรู้การปฏิบัติตัวและสภาวะสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารในเขตตำบลนาภู อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-02-2023