ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในโรงเรียนเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ขวัญชนก สุวรรณ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ศุภรดา โมขุนทด วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วัชรินทร์ หวังหุ้นกลาง วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ปัจจัย, นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้  เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร  ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  1 - 6  กลุ่มประชากรที่ศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 จำนวน 314 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวบข้อมูล   เป็นแบบทดสอบความรู้   และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น   การวิเคราะห์ข้อมูล  โดยหาค่าร้อยละ   ค่าเฉลี่ย   ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าไคสแควร์  (Chi - square) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน   ( Pearson’s    Product    Moment   Correlation Coefficient) ผลการศึกษาพบว่า
             1.  นักเรียนมีความรู้เกี่ยวการบริโภคอาหาร  อยู่ในระดับปานกลาง   คิดเป็นร้อยละ 68.8  ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 96.2  พฤติกรรมการบริโภคอาหาร อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 68.2
             2.  ความรู้เก่ียวกับการบริโภคอาหาร ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
             3.   ปัจจัยเอื้อ เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร   ปัจจัยเสริม เกี่ยวกับการบริโภคอาหารมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

จุฬาภรณ์ โสตะ. (2546). กลยุทธ์การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาสุขศึกษาคณะ สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จุฬาภรณ์ โสตะ. (2552). แนวคิด ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. (2545). ทฤษฎีและแบบจ าลองการประยุกต์ทางสุขศึกษาและวิทยาศาสตร์พฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิทยาศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

จุฬาภรณ์ โสตะ. (2543). การส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่. ขอนแก่น: ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ และสวิง สุวรรณ (2536). พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพและสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.

พรรณี บัญชรหัตถกิจ และบุญร่วม แก้วบุญเรือง. (2554). การพัฒนาเครือข่าย สร้างเสริมสุขภาพระหว่างคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นและสาธารณสุขสิรินธร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ขอนแก่น: ภาควิชาสาธารณสุขศึกษาและคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มัลลิกา มัติโก. (2543). คู่มือการวิจัยพฤติกรรมสุขภาพชุดที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เจริญดีการพิมพ์.

สายสุนีย์ อ้ายโน, สมสมัย รัตนกรีฑากุล และสุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. (2561). ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่มีผลต่ออัตราภาวะโภชนาการเกินของเด็กนักเรียนอนุบาลในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข สมาคมสภาพยาบาลสาธารณสุขไทยฯ. 32(1), 11-28.

สมจิตต์ สุพรณทัสน์. (2527). เอกสารการสอนชุดวิชาสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: ป.สัมพันธ์ พาณิชย์.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2536). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม แนวทางการศึกษาการวิเคราะห์และการวางแผน. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Becker, MH, and Maiman, LA. (1975). Sociobehavioral determinants of compliance with health and medical care recommendations. Med Care. 13 (1), 10-24.

Bloom, BS. (1969). Taxonomy of Official Objectives. Study, Head Book 1: Cognitive Domain. New York: David McKay.

Chulapom Sota, Pannee Banjonghathaikit, & Boonrod Kaewbunruang. (2011). Students health promote Life stye in Faculty of Public Health, Khon Kaen University. And Sirindhorn Public Health College, Khon Kaen Province, Thailand. In 3rd International Conference

on Public Health, among greater Mekong Sub-region, contries 9-10 August 2011. Laos: Don Chan Palace Hotel, Vientiane.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-02-2023