ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ก่อนวัยของสตรีวัยรุ่นชนเผ่าม้งในพื้นที่ ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • เมธี สุทธศิลป์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • ณัฐธิดา วิทยามุ่งมั่น
  • ก้งปอ เพชรคีรีราษฎร์

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์, วัยรุ่นชนเผ่าม้ง

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ก่อนวัยของสตรีวัยรุ่นชนเผ่าม้ง     ในพื้นที่ตำบลรวมไทยพัฒนา  อำเภอพบพระ  จังหวัดตาก  โดยกลุ่มตัวอย่าง  คือ   สตรีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ก่อนวัย  ซึ่งอายุต่ำกว่า  20  ปี  ที่มารับบริการฝากครรภ์ในปีงบประมาณ  2564  ของโรงพยาบาล  ส่งเสริมสุขภาพตำบลรวมไทยพัฒนา ตำบลรวมไทยพัฒนา  อำเภอพบพระ  จังหวัดตาก  จำนวน   55   คน   เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น    และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์  สถิติที่ใช้ คือ  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์สหพันธ์เพียร์สัน

          ผลการศึกษาพบว่า ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ก่อนวัย (r = -.014)  (p-value = .918) ค่านิยมทางเพศไม่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ก่อนวัย  (r  = .023)  (p-value  = .867)  สัมพันธภาพในครอบครัวไม่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ก่อนวัย (r = .165)  (p-value = .228) การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลใกล้ชิดไม่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ก่อนวัย (r = .111)  (p-value = .418)

References

กิ่งดาว แสงจินดา และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนกิจการเป็นมารดาของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 18(34), 6-20.

จรรยา สืบนุช และ สกาวรัตน์ เทพรักษ์. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ของหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีและภาวะสุขภาพของทารกหลังคลอด ในเขตสุขภาพที่ 5 (รายงานการวิจัย). ราชบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี.

จิรกุล ครบสอน. (2555). ความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของวัยรุ่นในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์) มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฉัตรจงกล ตุลยนิษกะ, จิรัชยา เจียวก๊ก และ วิชุนา สัตยารักษ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของสตรีวัยรุ่นในจังหวัดพัทลุง. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 8 22 มิถุนายน 2560 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ (น.740-754). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2557). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่นตามการรับรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่1 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(1), 90–98.

ยศยง จันทรวงศา. (2558). การสนับสนุนทางสังคม ความเหมาะสมกันระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม และความผูกพันในงาน กรณีศึกษาพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บนสายการบินแห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปะศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัตติยา ชูโชติ. (2561). การรณรงค์การคุมก าเนิดในวัยรุ่น: บทบาทพยาบาลยุค 4.0. วารสารพยาบาลทหารบก. 19(ฉบับพิเศษ), 42-52.

ลัดดา สายพาณิชย์, ธร สุนทรายุทธ และ ปริญญา ทองสอน. (2553). รูปแบบการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาในเขตภาคตะวันออก. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 6(1), 157-170.

สุภาภรณ์มีแก้ว. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นหลังคลอดอายุต่ำกว่า 20 ปี จังหวัดราชบุรี. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 3(2), 38-48.

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ก่อนวัยของสตรีวัยรุ่นชนเผ่าม้งในพื้นที่ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-03-2023