ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • วิฑูรย์ วิชาพร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไทรงาม อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การจัดการตนเอง, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

            การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed  Methods  Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อ  การจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่  2  อำเภอไทรงาม  จังหวัดกำแพงเพชร  กลุ่มตัวอย่างจำนวน  293  คน  สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณ  ได้แก่  แบบสอบถาม  ประกอบด้วยข้อมูล  3 ส่วน  ได้แก่  แบบสอบถามข้อมูลลักษณะทางประชากร  เศรษฐกิจและสังคม  แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน     และแบบสอบถามการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน   เครื่องมือในการวิจัยเชิงคุณภาพ   ได้แก่   แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา   ได้แก่   การแจกแจงความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และการวิเคราะห์ใช้สถิติถดถอยพหุคูณเชิงเส้น  ด้วยวิธีการคัดเลือกตัวแบบแบบขั้นตอน  กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ  0.05  และแบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

            ผลการศึกษา  พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง  ร้อยละ 72.0  มีอายุเฉลี่ย 59.87 ± 10.91 ปี จบระดับประถมศึกษา ร้อยละ 74.1 อาชีพเกษตรกร ร้อยละ 54.9 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ  ร้อยละ  58.7    มีการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่  2 อยู่ในระดับปานกลาง  ร้อยละ 46.1   ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่  2   ได้แก่  การปฏิบัติพฤติกรรม  (p-value < 0.001 , β = 0.513) ความรู้ความเข้าใจ (p-value =0.005 ,  β = 0.140)  และการตัดสินใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติในอนาคตหรือเงื่อนไขการใช้ชีวิต  (p-value = 0.043 ,  β  = 0.125)  จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา พบว่า  กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการความรู้การจัดการตนเองเกี่ยวกับโรคเบาหวานอย่างถูกวิธีผ่านการอบรมและสื่อออนไลน์     รวมถึงสามารถในไปใช้ได้จริงอย่างง่ายในชีวิตประจำวัน      ผลการศึกษา    สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคเรื้อรัง เพื่อสามารถจัดการตนเองให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

References

กรมควบคุมโรค. (2565). ตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการการดำเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อ ประจำปีงบประมาณ 2565. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2558). โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

จริยา นพเคราะห์, โรจนี จินตนาวัฒน์ และ ทศพร คำผลศิริ. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร. 47(2), 251-261.

นริศรา แก้วบรรจักร, ประไพจิตร ชุมแวงวาปี และ กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์. (2563). ปัจจัยความรอบรู้ทางสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 3(3), 1-15.

ปรางค์ บัวทองคำวิเศษ, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว และ สุทธีพร มูลศาสตร์. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลตำรวจ. 9(1), 106-116.

ไพรฑูรย์ สอนทน. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้สุขภาพกับการควบคุมน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 50(1), 76-88.

ภมร ดรุณ และ ประกันชัย ไกรรัตน์. (2561). ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 15(3), 71-82.

สิทธานนท์ แจ่มหอม, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, สุนีย์ ละกำปั่น และ จุฑาธิป ศีลบุตร. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสุขศึกษา, 44(1), 75-86.

สุพาพร เพ็ชรอาวุธ. (2564). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร. (2565). รายงานประจำปี. กำแพงเพชร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไทรงาม. (2565). รายงานประจำปี. กำแพงเพชร: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไทรงาม.

Angboonta. (2011). Effects of a Self - management Supporting Programon Self-management Behaviorsand Hemoglobin A1C LevelamongElders with Diabetes Type 2. Nursing Journal. 39(3), 93-104.

Bailey et al. (2014). The Meaning, Antecedents and Outcomes of Employee Engagement: A Narrative Synthesis. International Journal of Management Reviews. 19(1), 31-53.

Daniel. (1995). Biostatistic : A foundations for analysis in the health sciences. New York: John Wiley.

Haas et al. (2014). Identifying classes of conjoint alcohol and marjuana use in entering freshmen. Psychology of Addictive Behaviors. 29(3), 620-626.

International Diabetes Federation. (2017). IDF diabetes atlas 8th Edition. www.idf.org/e-library/epidemiology-research/diabetes-atlas/134-idf-diabetes-atlas-8th-edition.html.

Meyer John P., et al. (2007). Employee Commitment and Support for an Organizational Change : Test of the Three Component Model in Two Cultures”. Journal of Occupational and Organizational Psychology. 80(2), 185.

Nutbeam. (2000). Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International. 15(3), 259–267.

Wagner E. H, et al.. (2001). Quality improvement in chronic illness care: A collaborative approach. Joint Commission Journal on Quality Improvement. 27(2), 63-80.

ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-03-2023