ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital Challenge ของบุคลากรในโรงพยาบาล จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, GREEN & CLEAN Hospital Challengeบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital Challenge ของบุคลากร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 374 คน โดยใช้มีวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความรู้ใช้ KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.80 ความเชื่อมั่นของแบบ สอบถามความตระหนัก การสนับสนุนทางสังคม การบริหารจัดการ แรงจูงใจในการดำเนินงา นพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hosp ital Challenge ใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถา ม 0.80, 0.78, 0.84, 0.76 และ 0.82 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศหญิง ร้อยละ 69.0 มีอายุเฉลี่ย 42.74±9. 61 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 28.9 เป็นลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราว ร้ อยละ 61.5 มีประสบการณ์ปฏิบัติงานเฉลี่ย 11.56 ±10.74 ปี มีประสบการณ์ทำงานอยู่ระหว่ าง 1-5 ปี มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital Challenge อยู่ในระ ดับสูง ร้อยละ 55.6 ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน GREEN & CLEAN H ospital Challenge คือ การบริหารจัดการ (p-value < 0.001, β = 0.544) มีแรงจูงใจในการดำเนินงาน (p-value < 0.001, β = 0.318) ความรู้ในการดำเนินงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม (p-value < 0.001, β = 0.162) และการสนับสนุนทางสังคม (p-value < 0.001, β = 0.248) ผลการศึกษาสามารถนำข้อมูลไปพัฒนางานอนามัยสิ่งแวดล้อมภายในโรงพยา บาลโดยผลักดันให้เกิดนโยบาย สร้างแรงจูงใจและเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้กับบุ คลากรในโรงพยาบาล
References
กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2555). กรมอนามัยจับมือกรมควบคุมมลพิษ ลงนามความร่วมมือด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับ 2 พ.ศ.2555-2559. https://env.anamai.moph.go.th/th/news-anamai/174213.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานผลการดำเนินงาน. นนทบุรี: กรมอนามัย.
จุฬาภรณ์ โสตะ. (2554). แนวคิด ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาวิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประชาภรณ์ ทัพโพธิ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7(2), 475-491.
นริศรา นพคุณ และสุรพงษ์ ชูเดช. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital ของบุคลากรโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 14(4), 12-23.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข. (2565). รายงานประจำปี 2564. สุโขทัย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย.
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2566). คู่มือแนวทางการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital Challenge. นนทบุรี: สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม.
ศรัญรัตน์ ธานี. (2564). การพัฒนารูปแบบดำเนินงานโรงพยาบาล GREEN and CLEAN Hospital ของโรงพยาบาลน้าขุ่นอำเภอน้าขุ่นจังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี.
อนุรัตน์ ไชยนุราช ,ชมพูนุช สุภาพวานิช, กรรณิกา เรืองเดช และพัชรินทร์ สมบูรณ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกิจกรรมการดำเนินงานสาธารณสุขรวมใจรณรงค์ลดโลกร้อน ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 12. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 4, 75-90.
Bloom B.S. (1975). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals – Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay.
Daniel. (1995). The Relevance of the CIPP Evaluation Model for Educational Accountability. Atlantic City: N.J.
Herzberg. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley and Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.