ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพต่อการดูแลผู้ป่วย ระหว่างส่งต่อ โรงพยาบาลเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ดวงเดือน ราชคมภ์

คำสำคัญ:

การส่งต่อ, พยาบาลวิชาชีพ, สมรรถนะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพต่อการดูแลผู้ป่วยระหว่างส่งต่อ โรงพยาบาลเชียงแสน จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่โรงพยาบาลเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามเกณฑ์การคัดเข้าและเกณฑ์การคัดออก โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพต่อการดูแลผู้ป่วยระหว่างส่งต่อ โรงพยาบาลเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ระยะเวลาทดลองใช้ 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมุติฐานการวิจัยเปรียบเทียบก่อนและหลังทดลอง ใช้สถิติ Independent t- test ผลการวิจัยพบว่า ความชัดเจนของคู่มือที่ใช้ในการการส่งต่อผู้ป่วย ความเหมาะสมของแนวทางการประสานงานระหว่างโรงพยาบาลก่อนส่งต่อผู้ป่วย ความพร้อมของบุคลากร ความเหมาะสมของการประเมินอาการผู้ป่วยเพื่อวางแผนการดูแลระหว่างการส่งต่อตามมาตรฐาน มีประสิทธิภาพและมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคสำคัญ ความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงานตามระบบบริหารการส่งต่อผู้ป่วย  แนวทางปฏิบัติในการรับและส่งต่อผู้ป่วยลดขั้นตอนการทำงานกระชับและรวดเร็ว ปฏิกิริยาตอบรับจากผู้ป่วยญาติ ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจก่อนและหลังการทดลองพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001) ผลการศึกษาโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพต่อการดูแลผู้ป่วยระหว่างส่งต่อ โรงพยาบาลเชียงแสน จังหวัดเชียงรายสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการ พัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพต่อการดูแลผู้ป่วยระหว่างส่งต่อได้

References

เอกสารอ้างอิง

คณะทํางานจัดทําคู่มือสํานักการแพทย์. (2555). คู่มือการปฏิบัติงานระบบการส่งต่อผู้ป่วยของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์.กรุงเทพมหานคร.

ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2548). เริ่มต้นอย่างไรเมื่อจะนำ Competency มาใช้ในองค์กร (พิมพครั้งที่6). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น

นารี แซ่อึ้ง. (2543). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์สังกัด กระทรวง สาธารณสุข (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การพยาบาล). บัณฑิต วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล. (2549). การค้นหาและวิเคราะห์เจาะลึก competency ภาคปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

ผุสดี ปิติพรณรงค์ และศุภรัตน์เอื้ออนุวงศ์. (2556). การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยของโรงพยาบาล อุตรดิตถ์. งานวิจัยของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์.

พรพิไล นิยมถิ่น. (2561). ผลของการใช้แบบการบันทึก ทางการพยาบาลขณะส่งต่อผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นต่อ คุณภาพการส่งต่อและความพึงพอใจของพยาบาล วิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย, วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี.

พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, สินีนุช ชัยสิทธิ์. อนุชา เศรษฐเสถียร.(2559). การคัดแยกผู้ป่วยของแผนก อุบัติเหตุ-ฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล.

โรงพยาบาลเชียงแสน งานเวชระเบียนและสถิติ .(2566). รายงานสถิติประจำปี2566.งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลเชียงแสน.

สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน.(2565). รายงานสถิติการแพทย์ฉุกเฉิน. สืบค้นเมิ่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เข้าถึงจาก https://ws.niems.go.th/ITEMS_DW

สภาการพยาบาล. (2552). คู่มือการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายงานการพยาบาล.กรุงเทพฯ: กองการ พยาบาลสาธารณสุข.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-06-2024